ความหลากชนิดของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าภูห้วยทราย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ผุสดี พรหมประสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • พัชรดา นามคุณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • อภิสมัย ใช้ฮวดเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความหลากชนิดของพรรณไม้, การใช้ประโยชน์, ป่าภูห้วยทราย, ดัชนีความสำคัญ

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าภูห้วยทราย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โดยวิธีการสุ่มวางแปลงตัวอย่างแบบสี่เหลี่ยมขนาด 40x40 ตารางเมตร จำนวน 3 แปลง ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และสอบถามการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้บริเวณป่าภูห้วยทราย ในหมู่บ้าน    อังโกน หมู่บ้านหัวบึง และหมู่บ้านทรัพย์อุดม จำนวน 30 ครัวเรือน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบพืชจำนวน 49 วงศ์ 82 สกุล 118 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว พบ 17 ชนิด พรรณไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญมากที่สุด คือ แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub.) มีค่าเท่ากับ 56.21 รองลงมา คือ ปอแก่นเทา (Grewia eriocarpa Juss.) มีค่าเท่ากับ 30.72 และ สะแบง (Dipterocarpus intricatus Dyer) มีค่าเท่ากับ 26.15 ค่าดัชนีความหลากชนิดของไม้ต้นและไม้พื้นล่าง มีค่าเท่ากับ 2.90 และ 3.10 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของไม้ต้นและไม้พื้นล่าง มีค่าเท่ากับ 0.53 และ 0.42 พบพืชต่างถิ่นรุกราน 7 ชนิด ได้แก่ ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) มะแว้งนก (Solanum nigrum L.) ลูกใต้ใบ  (Phyllanthus amarus Schumch. & Thonn.) สาบม่วง (Praxelis clematidea (Hieron. Ex Kuntze) R.M. King & H.Rob.)  สาบเสือ (Chromoleana odoratum (L.) R.M. King & H.Rob.) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon (L.) Schult.) และ โทงเทง (Physalis angulata L.) สามารถนำพืชไปใช้ประโยชน์ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พืชที่ใช้เป็นสมุนไพร จำนวน       17 ชนิด พืชที่ใช้เป็นอาหาร จำนวน 9 ชนิด พืชที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย จำนวน 8 ชนิด และพืชที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง จำนวน    4 ชนิด ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่อไป

References

กรมป่าไม้. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2564. สำนักจัดการที่ดิน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2554). คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2556). พืชต่างถิ่นรุกรานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์. ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564). พรรณไม้ป่าผลัดใบห้วยขาแข้ง. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

ดวงใจ ศุขเฉลิม, สันติ สุขสอาด และยงยุทธ ไตรสุรัตน์. (2558). คู่มือการศึกษาป่าไม้ไทย. กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

เทียมหทัย ชูพันธ์. (2559). ความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ เทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 8(2): 213-229.

เทียมหทัย ชูพันธ์. (2562). พรรณพืชในป่าชุมชนภูประดู่เฉลิมพระเกียรติ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 47(4): 673-690.

เทียมหทัย ชูพันธ์. (2564). ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี. 1(1): 1-10.

เทียมหทัย ชูพันธ์ และวิไลลักษณ์ ซูมสไตอินน์. (2557). ความหลากหลายของพรรณไม้ในวนอุทยานภูผาล้อม อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารวิทยาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 34(4): 336-343.

เทียมหทัย ชูพันธ์, นาริชซ่า วาดี, ศรัญญา กล้าหาญ, สุนิษา ยิ้มละมัย และสุวรรณี อุดมทรัพย์. (2563). ความหลากหลายของพรรณไม้ในวัดป่าเขาคงคา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. PSRU Journal of Science and Technology. 5(3): 74-96.

นฤมล กูลศิริศรีตระกูล, เพ็ญพร วินัยเรืองฤทธิ์, ปาจรีย์ ชูประยูร และสินเดิม ดีโต. (2556). ความหลากของชนิดและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้: ป่าชุมชนบ้านท่าทองแดง ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. ใน ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 15-16 กรกฏาคม 2556. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ. 98-105.

นิวัติ คชานันท์. (2548). ความหลากชนิดของพรรณพชและการใช้ประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาสน อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิวัติ เรืองพานิช. (2556). ป่าและการป่าไม้ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

ผุสดี พรหมประสิทธิ์, ธัญรัตน์ ประมูลศิลป์, สุวิสา จันทร์โท และวรชาติ โตแก้ว. (2562). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าชุมชนบ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. PSRU Journal of Science and Technology. 4(3): 37-47.

วราวุฒิ มหามิตร, ภารณี นิลกรณ์ และคันธรส สุขกุล. (2563). ความหลากชนิดของพรรณไม้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 9-10 กรกฎาคม 2563. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม. 3642-3648.

วรชาติ โตแก้ว, ณัฐพล สุกพวงกลาง และผุสดี พรหมประสิทธิ์. (2564). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(1): 1-12.

วรชาติ โตแก้ว และนวพรรษ ผลดี. (2560). ความหลากชนิดของพืชมีท่อลำเลียงในป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(2): 203-217.

วรชาติ โตแก้ว, ปิยะ โมคมุล, กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง, ถวิล แสนตรง และวีรนุช วอนเก่าน้อย. (2556). ความหลากชนิดของพรรณพืช เห็ด และการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านโพนทอง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 5(2): 83-98.

ศศินา ภารา. (2550). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เอ็กซเปอร์เน็ท: กรุงเทพฯ.

สมหญิง บู่แก้ว, เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และธวัตชัย ธานี. (2552). ความหลากชนิดของพรรณไม้และการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าในชุมชนโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. 7(1): 36-50.

สราวุธ สังข์แก้ว. (2562). รุกขวิทยาภาคสนาม. บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด: กรุงเทพฯ.

Hill M.O. (1973). Diversity and Evenness: A unifying notation and its consequences. Ecological Society of America. 54: 427-432.

Matin G.J. (1995). Ethnobotany: a methods manual. All Rights Reserved: UK.

Numpulsuksant W., Saensouk S. and Saensouk P. (2021). Diversity and ethnobotanical study of medicinal plants in Ban Hua Kua, Kae Dam District, Thailand. Biodiversitas. 22(10): 4349–4357.

Shannon C.E. and Weaver W. (1949). The Mathematical Theory of Communication. The University of Illinois Press: Urbana, IL.

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions