เครื่องกดเส้นห้ามเลือดระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • รณยุทธ นนท์พละ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • กิตติวัฒน์ จีบแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • เกียรติพงศ์ ไชยตะมาตย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

เครื่องกด, ห้ามเลือด, นิวเมติกส์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องเครื่องกดเส้นห้ามเลือดด้วยระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องมือ ที่จะช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำการกดเส้นเพื่อห้ามเลือดหลังถอดเข็มสวนออกจากหลอดเลือด โดยนำระบบนิวเมติกส์เข้ามาช่วยแทนบุคลากรในการกดเส้นห้ามเลือด หลังจากสร้างเครื่องได้ทำการหาคุณภาพของเครื่องกดเส้นเลือดด้วยระบบ
นิวเมติกส์ไฟฟ้า โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่านและประเมินจากการทดลองใช้งานกับกลุ่มอาสาสมัคร ทั้งหมด 20 ท่าน หลังจากการเข้าทำการทดสอบกับเครื่อง มีผลวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินเครื่องกดเส้นห้ามเลือดด้วยระบบ
นิวเมติกส์ไฟฟ้าจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยจาก 4.28 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในเกณฑ์ระดับประเมินดี ความคิดเห็นตามหลักทางวิศวกรรมและหลักทางการแพทย์สามารถนำไปใช้งานจริงได้ ผลที่เกิดต่อร่างกายของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดสอบ อาสาสมัครทั้งหมด 20 ท่าน มีค่า O2sat ค่าชีพจรและอาการอ่อนแรงในระดับปกติ มีอาการเป็นแผล 2 ท่าน มีอาการปวดขา 10 ท่าน มีอาการขาชาเล็กน้อยทุกท่าน มีอาการขาซีดทุกคนแต่ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตราย มีอาการเจ็บปวดที่จุดกดเล็กน้อยถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้และแรงกดของเครื่องอยู่ในระดับที่สามารถห้ามเลือดหลังถอดเข็มสวนออกจากหลอดเลือดได้

References

จิตต์วรา ยาละ, ณัฐวุฒิ ไชยลิ้นฟ้า และขวัญใจ ทศศิริ. (2559). ประสิทธิภาพของการใช้อุปกรณ์ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่นิ้วเท้าขณะผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open Heart Surgery) โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร8(2): 15-22.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา. 58(1): 13-24.

จีรภา เทพกระโทก. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบจากหินปูนที่ได้รับการกรอหลอดเลือดด้วยเครื่องกรอหัวเพชรและใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือด. รายงานการวิจัย. ฝ่ายการพยาบาล กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. กรุงเทพมหานคร.

ทิพย์สุดา พรหมดนตรี และจินตนา ดำเกลี้ยง. (2564). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 41(3): 99-108.

พีรญา จารุภุมริน. (2562). ผลของการใส่สายรัดข้อมือ (TR band) ภายหลังการเจาะเลือดต่อภาวะเลือดออกง่ายในผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพาริน. วชิรสารการพยาบาล. 21(2): 12-22.

รุจิพรรณ สัมปันณา, เทพทวี ทองเต็มแก้ว, ปัณฑ์ชนิตพ์ เฮงศรีธวัช และเติมพงษ์ ศรีเทศ. (2566). การประยุกต์ใช้เฟล็กซ์เซ็นเซอร์เพื่อควบคุมอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุ. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 4(1): 90-102.

ลดาวัลย์ ดิลก และฤทธิ์กล้า ภิยโยทัย. (2562). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจต่อภาวะแทรกซ้อนและระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ธท.2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร. 46(4): 149-157.

ภาณุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร, ชูชาติ พยอม และศุภชัย แก้วจันทร์. (2563). การพัฒนาเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพรแบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์สำหรับชุมชนแพทย์แผนไทย อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(3): 95-104.

วทัญญู ปลายเนตร. (2546). การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือกดห้ามเลือดที่ประดิษฐ์ขึ้น (จุฬา-แคลมป์) เพื่อใช้ห้ามเลือดภายหลังการสวนเส้นเลือดหัวใจหรือการขยายเส้นเลือดหัวใจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญศินีย์ นันตะสุคนธ์, สุภาพร อัศวกิจพานิช และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2562). การศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดบริเวณแผลในผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจระหว่างการใส่สายสวนหัวใจที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบกับหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ หอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี. Mahidol R2R e-Journal. 6(2): 42-54.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions