This is an outdated version published on 29-12-2023. Read the most recent version.

อีโคไลและรูปแบบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะภายใต้กระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ผู้แต่ง

  • สิมนัส ตรีเดช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • เพียงกมล ยุวนานนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • จุฑารัตน์ ศรีชูเปี่ยม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • ธวัชชัย ศรีสอาด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • วิไล เจียมไชยศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ปุ๋ยอินทรีย์, กระบวนการหมักปุ๋ยอินทรีย์, เศษอาหาร, แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบคทีเรียบ่งชี้ที่ก่อโรคและคุณสมบัติการดื้อยาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร อีกทั้งศึกษาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของแบคทีเรียก่อโรค และคุณสมบัติการดื้อยาปฏิชีวนะภายใต้กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้อีโคไลเป็นแบคทีเรียบ่งชี้ ใช้ระยะเวลาทดสอบ 8 สัปดาห์ ภายใต้ถังหมักขนาด 150 ลิตร ที่มีการเติมอากาศ ผลจากการศึกษาพบว่าภาพรวมการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของอีโคไลในช่วงเริ่มต้นกระบวนการหมักมีค่า MAR index ของอีโคไลอยู่ที่ 0.312 เมื่อดำเนินการหมักปุ๋ยอินทรีย์ในช่วงแรกที่อุณหภูมิภายในถังปฏิกรณ์เพิ่มขึ้น (37.0-57.0 องศาเซลเซียส) อีโคไลที่สามารถอยู่รอดได้จะมีระดับการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น และค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลา โดยในสัปดาห์ที่ 8 ค่า MAR index ของอีโคไลลดลงมาที่ 0.214 ซึ่งอีโคไลส่วนใหญ่ที่เหลือรอดจัดเป็น
อีโคไลดื้อยา 1 กลุ่มยา (ร้อยละ 60.0) ในส่วนของน้ำชะจากปุ๋ยหมักช่วงแรกของการหมักพบค่า MAR index (0.405) สูงกว่าในตัวปุ๋ยหมัก และมีค่าลดระดับลงตามระยะเวลาเช่นกัน (สัปดาห์ที่ 7 มีค่า MAR index = 0.150) ดังนั้น ในการนำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารไปประยุกต์ใช้ ควรทิ้งช่วงเวลาให้ปุ๋ยหมักเกิดการหมักจนสมบูรณ์หรือมีการพักปุ๋ยหมักทิ้งไว้ เพื่อลดระดับความรุนแรงของการดื้อยาปฏิชีวนะในแบคทีเรียซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ อีกทั้งควรมีระบบจัดการน้ำชะปุ๋ยหมักที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสู่สิ่งแวดล้อม

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023

Versions