ผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริกที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Colletotrichum sp.

ผู้แต่ง

  • ศิริโสภา วรรณวงศ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
  • วิโรจ ชมภู สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
  • กมลพร ปานง่อม กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, โรคแอนแทรคโนส, Colletotrichum sp. , พริก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide: H2O2) ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum sp.) ในพริก มี 2 การทดลองโดยทั้ง 2 การทดลองวางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) การทดลองที่ 1 การบ่มสารแขวนลอยสปอร์เชื้อรา Colletotrichum sp. ไอโซเลท NMK-MJ01 ในสารละลาย H2O2 ที่ความเข้มข้น 10, 20, 40 และ 80 มิลลิโมลาร์ (mM) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนนำมาปลูกเชื้อบนผลพริก การทดลองที่ 2 การปลูกเชื้อรา Colletotrichum sp. ไอโซเลท NMK-MJ01 บนผลพริก เป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วพ่นด้วยสารละลาย H2O2 ที่ความเข้มข้นดังกล่าวข้างต้นบนผลพริก เป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน เปรียบเทียบกับชุดควบคุมปลูกเชื้อ(น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ) และไม่ปลูกเชื้อ ผลของ เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและ เปอร์เซ็นต์ดัชนีความรุนแรงของโรคที่บ่มในวันที่ 7 พบว่า สารละลาย H2O2 สามารถยับยั้งการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค ในการทดลองที่ 1 ได้ดีกว่าการทดลองที่ 2 โดยเฉพาะสารละลาย H2O2 ที่ความเข้มข้น 40 และ 80 mM มีการเกิดโรคเท่ากับ 26.00 และ 16.00 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 13.33 และ 9.25 เปอร์เซ็นต์ และขนาดของแผลเท่ากับ 12.93 และ 11.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนการทดลองที่ 2 มี เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและเปอร์เซ็นต์ดัชนีความรุนแรงของโรคบนผลพริกที่สูง ดังนั้นสารละลาย H2O2 สามารถประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพริก

References

กลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด. (2565). พริก. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/22chili.pdf

ประภัสศร ศิลปะศาสตร์ดำรง. (2561). ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเครื่องสำอาง (สารเคมีใกล้ตัวกว่าที่คิด). ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/BIO_4_2561_Hydrogen_peroxide.pdf

ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล และชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ. (2559). ประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพจากเศษเหลือพริกต่อการยับยั้งชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ในสภาพห้องปฏิบัติการ. วารสารเกษตร. 32(1): 61-72.

ศศิลภัส เพชรชู, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกุล, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล, วชิระ สิงหะคเชนทร์ และธีระ กลลดาเกรียงไกรคเชนทร์. (2557). การศึกษาประสิทธิผลไอของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หลังจากการอบฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศของห้องผ่าตัด. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 “15th Khon Kaen University Graduate Research Conference: 50 Years of Social Devotion Khon Kaen University” 28 มีนาคม 2557. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 1399-1407.

สวิตา สุวรรณรัตน์, ปัฐวิภา สงกุมาร, Siegrid Steinkellner และสมศิริ แสงโชติ. (2560). การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ cutinase และ endopolygalacturonase ของเชื้อรา Colletotrichum capsici ในช่วงการเข้าทำลายบนผลพริก. วารสารเกษตร. 33(3): 357-366.

สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่. (2563). การผลิตพริกปลอดภัย. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566. http://alc.doae.go.th/wp-content/uploads/2020/04/แพร่_ถอดบทเรียน63.pdf.

Abdel-Monaim M.F. (2013). Improvement of biocontrol of damping-off and root rot/wilt of faba bean by salicylic acid and hydrogen peroxide. Mycobiology. 41(1): 47–55.

Agrios G.N. (2005). Plant Pathology. 5th ed. Academic Press. New York. 592 p.

Ali A.A.M. (2018). Role of hydrogen peroxide in management of root rot and wilt disease of thyme plant. Journal of Phytopathology and Pest Management. 5(3): 1-13.

Angelova M.B., Pashova S.B., Spasova B., Vassilev S. and Slokoska L.S. (2005). Oxidative stress response of filamentous fungi induced by hydrogen peroxide and paraquat. Mycological Research.109(2): 150-158.

Eloy Y.R.G., Vasconcelos I.M., Barreto A.L.H., Freire-Filho F.R. and Oliveira J.T.A. (2015). H2O2 plays an Important role in the lifestyle of Colletotrichum gloeosporioides during interaction with cowpea (Vigna unguiculata (L.) Walp. Fungal Biology. 119(8): 747-757.

Gálvez-Marroquín L.A., Martínez-Bolaños M., Cruz-Chávez M.A., Ariza-Flores R., Cruz-López J.A., Magaña-Lira N., Cruz de la Cruz L.L. and Ariza-Hernández F.J. (2022). Inhibition of mycelial growth and conidium germination of Colletotrichum sp. for organic and inorganic products. Agro Productividad. 5(2): 25-32.

Ivanova A.E., Aslanidi K.B., Karpenko Y.V. and Belozerskaya T.A. (2005). The effect of hydrogen peroxide on the growth of microscopic mycelial fungi isolated from habitats with different levels of radioactive contamination. Microbiology. 74(6): 655–663.

McMaugh T. (2008). Guidelines for Surveillance for Plant Pests in Asia and the Pacific. ACIAR monograph No. 119c. Australia. 199 p.

Montri P., Taylor P.W.J. and Mongkolporn O. (2009). Pathotypes of Colletotrichum capsici, the causal agent of chili anthracnose, in Thailand. Plant Disease. 93(1):17-20.

Moreno-Hernández C.L., Zambrano-Zaragoza M.L., Velázquez-Estrada R.M., Sánchez-Burgos J.A. and Gutiérrez-Martinez P. (2022). Identification of a Colletotrichum species from mango fruit and its in vitro control by GRAS compounds. Revista Mexicana de Ingeniería Química. 21(3): Bio2777, doi: 10.24275/rmiq/Bio2777.

Nassar A.M.K. and Adss I.A.A. (2016). 2,4-Dichlorophenoxy acetic acid, abscisic acid, and hydrogen peroxide induced resistance-related components against potato early blight (Alternaria solani, Sorauer). Annals of Agricultural Science. 61(1): 15-23.

Pakdeevaraporn P., Wasee S., Taylor P.W.J. and Mongkolporn O. (2005). Inheritance of resistance to anthracnose caused by Colletotrichum capcisi in Capsicum. Plant Breeding. 124(2): 206-208.

Pring R.J., Nash C., Zakaria M. and Bailey J.A. (1995). Infection process and host range of Colletotrichum capsici. Physiological and Molecular Plant Pathology. 46(2): 137-152.

Saxena A., Raghuwanshi R., Gupta V.K. and Singh H.B. (2016). Chilli anthracnose: The epidemiology and management. Frontiers in Microbiology. 7: 1527, doi: 10.3389/fmicb.2016.01527.

Sutton B.C. (1992). The genus Glomorella and its anamorph Colletotrichum. In Bailey J.A. and Jeger M.J. Editors. Colletotrichum: Biology, Pathology and Control. CAB International, Wallingford. 1-26.

Yeimmy P.R., Chiara R., Carlos D.G.T. and Clemencia C.L. (2023). Green management of postharvest anthracnose caused by Colletotrichum gloeosporioides. Journal of fungi. 9: 623, doi: 10.3390/jof9060623.

Zhou B., Luo Y., Nou X., Mwangi E., Poverenov E., Rodov V., Demokritou P. and Fonseca J.M. (2023). Effects of a novel combination of gallic acid, hydrogen peroxide and lactic acid on pathogen inactivation and shelf-life of baby spinach. Food Control. 143: 109284, doi: 10.1016/j.foodcont.2022.109284.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024