การพัฒนากระดาษใยไหมจากเศษไหมเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • ยุพดี สินมาก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • บัญชา ชื่นจิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • อภินันทิชัย โจมสติ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • กัญญา เยี่ยมสวัสดิ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • แสงเดือน ธรรมวัตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

กระดาษใยไหม , เศษไหม , บรรจุภัณฑ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกระดาษจากเศษไหมเหลือทิ้งหลังการกระบวนการผลิตผ้าไหม 2) เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตและศึกษาสมบัติของกระดาษใยไหม และ 3) เพื่อปรับปรุงสมบัติของกระดาษจากใยไหมให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ การปรับปรุงสมบัติของกระดาษจากใยไหมโดยการใช้เยื่อกระดาษ 20 กรัม กับ กาวลาเท็กซ์ ร้อยละ 6 พบว่า กระดาษมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถใช้กาวลาเท็กซ์ผสมเยื่อในขั้นตอนการผลิตกระดาษทำให้ได้กระดาษมีความแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากกาวลาเท็กซ์ทำหน้าที่ช่วยให้เยื่อไหมมีขนาดเล็กลง และกาวลาเท็กซ์ยังสามารถจับตัวกันอยู่ในเนื้อกระดาษแล้วยังช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยด้วยกันเอง รวมทั้งเส้นใยกับกาวลาเท็กซ์เข้ากันได้ดีจึงส่งผลให้กระดาษที่ได้มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่ชุมชน มีความพึงพอใจในด้านความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ด้านผิวสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ด้านหน้าที่การใช้งานของผลิตภัณฑ์ และด้านใช้งานได้จริง อยู่ในเกณฑ์ดี และผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการในการผลิตกระดาษใยไหม พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยกระดาษใยไหมมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น การผสมผสานวัสดุที่ดึงดูดความน่าสนใจ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน มีความประณีตและลวดลายเป็นธรรมชาติ และการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน รวมถึงกรรมวิธีเหมาะสมกับการใช้งาน

References

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.

นพมาส เยื่อมสวัสดิ์. (2553). ผลของการฉาบภายนอกของสารละลายแป้งต่อสมบัติของผิวกระดาษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณิตา ป้องสีดา. (2557). การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษใยไหมเพื่อประยุกต์ใช้ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วุฒินันท์ คงทัด. (2545). กระดาษทำด้วยมือ. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตเยื่อและกระดาษจากปอสา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

วัชราภรณ์ สีเทา และปิยรัตน์ มูลศรี. (2559). การพัฒนากระดาษใยไหมจากเศษไหม. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16. 22 กรกฎาคม 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์. 879-880.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2566). การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษเส้นใยพืช. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566. https://www.tisi.go.th.

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024