การออกแบบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับช้างบาดเจ็บ

ผู้แต่ง

  • ภาคย์ พราหมณ์แก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ปรัชญา มุขดา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • กังสดาล สกุลพงษ์มาลี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ช่วงชัย ชุปวา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • อิทธิพัฒน์ รูปคม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • กฤษณ์ ไชยวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • อลงกรณ์ ฉัตรเมืองปัก คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • มหิศร ประภาสะโนบล คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ขวัญชัย หนาแน่น คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ช้าง , การทำแห้งแบบสุญญากาศ, ระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับช้างที่ได้รับบาดเจ็บ เป้าหมายหลักของงานวิจัยคือการออกแบบระบบที่สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือช้างที่ได้รับบาดเจ็บและไม่สามารถลุกยืนได้ด้วยตัวเองให้ได้รับการรักษาเบื้องต้นก่อนที่จะนำช้างไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล กระบวนการเข้าช่วยเหลือช้างบาดเจ็บต้องกระทำอย่างรวดเร็วและปลอดภัยทั้งสำหรับผู้ปฏิบัติงานและช้างเอง ระบบพยุงน้ำหนักนี้มีการออกแบบเพื่อให้การช่วยเหลือช้างนั้นเป็นไปอย่างสะดวก สามารถลากจูงได้ด้วยรถกระบะทั่วไปที่ความเร็วในการลากจูงไม่เกิน 60 km/hr น้ำหนักออกแบบระบบพยุงนี้พิจารณาที่น้ำหนักยกเท่ากับ 14.7 kN ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักพยุงประมาณ 30% ของน้ำหนักเฉลี่ยของช้างไทยเต็มวัย 49.1 kN เส้นรอบอกและความสูงของช้างไทยเต็มวัยที่ใช้ในการออกแบบนี้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 400 และ 300 cm ตามลำดับ ผลจากการทดสอบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าระบบนี้สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 19.6 kN ที่ความสูงยก 3.5 m เมื่อระบบนี้ไปใช้งานกับช้างบาดเจ็บที่มีน้ำหนักเท่ากับ 49.1 kN จะมีค่าความเสถียรภาพ (N) เท่ากับ 1.33

References

ข่าวสด. (2565). น่าสงสาร! รถขนช้างคว่ำ 'ปู๊คำ' บาดเจ็บ ขยับตัวแทบไม่ได้. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566. https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7248753

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ย้ายลูกช้างเข้ารักษาตัว รพ.สนาม อช.กุยบุรี คาดใช้เวลา 3 เดือน. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565. https://www.thairath.co.th/news/local/central/1450273

ไทยพีบีเอส. (2560). เปิดนาทีชีวิตช่วย "ช้างป่า"ตกคลองชมพู 26 ชั่วโมง. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565. https://www.thaipbs.or.th/news/content/267028.

ไทยพีบีเอส. (2564). 7 วันรู้ผล "พลายยันหว่าง" ช้างป่าตาย สงสัยให้ยาเกินขนาด. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565. https://www.thaipbs.or.th/news/content/300673

ไทยพีบีเอส. (2565). นาทีชีวิต ช่วยช้างป่า "แม่-ลูก" ตกท่อระบายน้ำ ลึก 2 เมตร. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566. https://www.thaipbs.or.th/news/content/317479

พุทธิพงษ์ พลคำฮัก. (2556). อุปกรณ์ช่วยเดิน. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 28(4): 583-588.

พรพรรณ เครืออนุณรัตน์. (2560). การศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยพยุงสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร. (2559). การออกแบบโครงช่วยฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณนา สุริยาสถาพร, วีนา จูเปีย, อติกันต์ ทองทาบ, เกรียงไกร ทองก้อน, กณวีร์ วาฤทธิ์ และเทอดชัย ชีวะเกต. (2558). ขาเทียมสำหรับสุนัข. วารสารเชียงใหม่สัตวแพทย์สาร. 13(3): 139-146.

วาริชภัทร จ่ายเจริญ. (2563). การพัฒนาสมการถดถอยเพื่อประมาณน้ำหนักของช้างเอเชียโดยใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายดิจิตอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กอ.รมน. (2565). เอาใจช่วย! ช้างป่าใจสู้ “บุญรอด” บาดเจ็บสาหัส. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566. https://4occ.isoc.go.th/04news/?p=7679.

สมาคมสหพันธ์ช้างไทย. (2566). ช่วยเหลือช้างสีดอทองหล่อ อายุ 63 ปี. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566. https://www.thaielephantalliance.org/en/all-activity.html

สราญจิต แสนแก้ว, วนิดา ดรปัญหา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ และกรวรรณ โหม่งพุฒ. (2564). การพัฒนาเชือกช่วยพยุงตัวสำหรับใช้ในการออกกำลังกายและการฝึกเดินในเด็กสมองพิการ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. 25 มีนาคม 2564. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 864-873.

อนล สถาพรสถิต และสันติ อัศวพลังชัย. (2559). ผลของการใส่อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าด้านในและอุปกรณ์พยุงส้นเท้าชนิดทำจากซิลิโคนต่อแรงกดใต้ส้นเท้า. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 26(3): 98-103.

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024

How to Cite

พราหมณ์แก้ว ภ. ., มุขดา ป. ., สกุลพงษ์มาลี ก. ., ชุปวา ช. ., รูปคม อ. ., ไชยวงศ์ ก. ., ฉัตรเมืองปัก อ. ., ศรีอำนวย บ. ., ประภาสะโนบล ม. ., & หนาแน่น ข. . (2024). การออกแบบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับช้างบาดเจ็บ. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 5(3), 13–22. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262236