ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ตำบล พะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 288 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 39 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับ การศึกษา มีสถานภาพสมรส มีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 16 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยรวมใน ครัวเรือน 104,000 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 86,788 บาท จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นสมาชิกของสถาบันทางการเกษตร มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี โดยส่วนมากได้รับข่าวสารด้านการเกษตรจากสื่อโทรทัศน์ มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 7 ปี มีประสบการณ์ในการศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกขา้ วโพดเลี้ยงสัตวอ์ ยูใ่ นระดับปานกลาง สำหรับปจั จัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ เพศ และการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่สำคัญ คือ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนที่สูง เกษตรกรจึงต้องการให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาที่สูงขึ้น และสารเคมีที่ใช้ควรมีราคาตํ่าลงเพื่อลดต้นทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และต้องการให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุหลัน กุลวิจิตร. 2560. สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. Veridian E-Journal 10(3): 2440-2454.
ประชุม สุวัตถี. 2541. การสุม่ ตัวอยา่ งเพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ 38(3): 103-130.
พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะ ของเกษตรกรอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 3(2): 109-162.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-72.
วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. 2560. ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิดทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์: ร้อยละและปริมาณผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวรายเดือน รายจังหวัด ปีเพาะปลูก 2559/60 แหล่งข้อมูล www.oae.go.th/
assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/ร้อยละผลผลิตข้าวโพด59(1).pdf (27 ตุลาคม 2561).
สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. 2558. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก. สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง , กรุงเทพฯ.