ผลการทดสอบเบื้องต้นในการใช้ผงว่านนํ้า (Acorus calamus L.) ต่อการเข้าทำลายของแมลงในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด

Main Article Content

ปัทมา หาญนอก
ภรนาลินท์ สิงหบำรุง
เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
วนาลี แก้วใจ

บทคัดย่อ

     ว่านนํ้าเป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการควบคุมแมลงในโรงเก็บ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของผงว่านนํ้าต่อการควบคุมแมลงศัตรูโรงเก็บในเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลใน RCBD จำนวน 2 ซํ้า มีสิ่งทดลอง 2 ชนิด ได้แก่ 1) อัตราของ ผงว่านนํ้าที่ใช้ ได้แก่ 0, 7.5, 15, และ 22.5 กรัมต่อ 300 กรัมเมล็ดข้าวโพด และ 2) ชนิดของภาชนะบรรจุ (กระสอบป่าน กระสอบพลาสติก และถุงผ้าดิบ) คลุกเมล็ดข้าวโพดด้วยผงว่านนํ้าตามอัตราที่กำหนด บรรจุ ลงในภาชนะบรรจุทั้ง 3 ชนิดและเก็บรักษานาน 6 เดือน จำแนกชนิด นับจำนวนแมลงทุกเดือน และ ชั่งนํ้าหนักเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลการทดลองพบว่า มีเพียงตัวเต็มวัยของด้วงงวง ข้าวโพดที่เข้าทำลายเมล็ด จำนวนตัวเต็มวัยของด้วงงวงข้าวโพดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือนตั้งแต่เดือน ที่ 1 ถึงเดือนที่ 5 และเริ่มมีปริมาณลดลงในเดือนที่ 6 ในเมล็ดที่ไม่ได้คลุกสารใดๆ โดยในเดือนที่ 2 ถึง 3 มีการเพิ่มปริมาณแบบก้าวกระโดด ผลการวิเคราะห์ 2-way ANOVA พบว่า ผงว่านสามารถควบคุมแมลง ศัตรูโรงเก็บที่เขา้ ทำลายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ตลอดระยะการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ทั้ง 6 เดือน ขณะที่ชนิดของภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์และปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยนี้มีอิทธิพลต่อปริมาณแมลง ศัตรูโรงเก็บที่เข้าทำลายเมล็ดพันธุ์ในสองระยะเท่านั้น (เดือนที่ 2 และ 3) เมื่อเปรียบเทียบนํ้าหนักที่ สูญเสียไปของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกับนํ้าหนักเริ่มต้น (300 กรัม) พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านการคลุกด้วย ผงว่านน้ำมีน้ำหนักสุดท้ายลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเริ่มตน้ ขณะที่น้ำหนักของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการ คลุกด้วยผงว่านนํ้าที่อัตราต่างๆ มีการสูญเสียนํ้าหนักตํ่ากว่า 13% ดังนั้น ผงว่านนํ้ามีฤทธิ์ในการควบคุม แมลงศัตรูโรงเก็บได้ดีในทุกภาชนะบรรจุ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความเป็นพิษของ ผงว่านนํ้าต่อเมล็ดพันธุ์ รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ ชนิดของเมล็ดพันธุ์และแมลงศัตรูโรงเก็บที่อ่อนแอ ต่อผงว่านนํ้า รวมถึงองค์ประกอบทางเคมีของว่านนํ้าที่ปลูกในประเทศไทยน่าจะมีประโยชน์ต่อการ ประยุกต์ใช้ว่านนํ้าสมุนไพรไทยในการควบคุมผลผลิตทางการเกษตรจากแมลงศัตรูโรงเก็บ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันท์นภัส พิริยะอนนท์. 2560. ประสิทธิภาพสารสกัดพืชเพื่อควบคุมมอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae L.) ในข้าวอินทรีย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยืนยง วาณิชย์ปกรณ์ และพัชราภรณ์ วาณิชย์ปกรณ์. 2559. ประสิทธิภาพของผงเมล็ดน้อยหน่าที่มีต่อด้วงถั่วเขียวในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วเขียว. แก่นเกษตร 44(1): 583-588.

สุรีรัตน์ ทองคำ อนุวัตน์ จันทรสุวรรณ และอัญชลี สวาสดิ์ธรรม. 2561. ประสิทธิภาพของสมุนไพร 4 ชนิดต่อการควบคุมด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais Motschulsky) ในการเก็บรักษาข้าวกล้องอินทรีย์พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1): 139-147.

สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. 2561. สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมศัตรูพืช. จดหมายข่าวผลิใบ.แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_2-mar/kayaipon.html (5 พฤศจิกายน 2561).

อรพิน เกิดชูเชิด และณัฏฐา เลาหกุลจิตต์. 2561. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประสิทธิภาพของพืชพื้นบ้านไทยต่อการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดในข้าวสาร.

Boake, S.J., J.J.A. van loon, A. van Huis, D.K. Kossou and M. Dicke. 2001. The use of plant material to protect stored leguminous seeds against seed beetles: A review. Netherlands. Backhuys Publisher.

El-Nahal, A.K.M., G.H. Schmidt and E.M. Richa. 1989. Vapours of Acorus calamus oil-A space treatment for storedproduct insects. Journal of Stored Products Research 25(4): 211-216.

Gong, X.L., L.H. Dian and L.J. Zhang. 2007. Study on chemical constituents of volatile oil in rhizome and root of Acorus calamus L. China Pharmacy 18(3). 176–178.

Huang, Y.Z., Z.Y. He, Y.H. Cao and J.L. Wu. 1993. Analysis of the components of the rhizome volatile oils from Chinese Acorus plants and rational use of the resources. Chin. J. Chromatogr. 110: 267–270.

Lin, C.L., G.Y. Lin and J.Z. Cai. 2012. Study on the chemical constituents of the volatile oils from the Acorus calamus growing in Zhejiang Province. Chin. Pharm. 23(7): 640–641.

Lui, X.C., L.G. Zhou, Z.L. Liu and S.S. Du. 2013. Identification of insecticidal constituents of the essential oil of Acorus calamus rhizomes against Liposcelis bostrychophila Badonnel. Molecules 18(5): 5684-5696.

Mehta, P.S., K.S. Negi, R.S. Rathi and S.N. Ojha. 2012. Indigenous method of seed conservation and protection in Uttarakhand Himalaya. Indian Journal of Traditional Knowledge 11(2): 279-282.

Ortiga, A.C. 1987. Insect pests of maize: A guide for field identification. Mexico, D.F.: CIMMYT.

Paneru, R.B., G.N.J. le Patourel and S.H. Kennedy. 1997. Toxicity of Acorus calamus rhizome powder from eastern Nepal to Sitophilus granaries (L.) and Sitophilus oryzae (L.) (Coleoptera, Curculionidae). Crop Protection 16(8): 759-763.

Tefera, T., S. Mugo and P. Likhayo. 2011. Effects of insect population density and storage time on grain damage and weight loss in maize due to the maize weevil Sitophilus zeamais and the larger grain borer Prostephanus truncates. African Journal of Agriculture Research 6(10): 2249-2254.

Tewary, D.K., A. Bhardwaj and A. Shanker. 2005. Pesticidal activities in five medicinal plants collected from mid hills of western Himalayas. Industrial Crops and Products 22(3): 241-247.

Thorne, J.E. 1994. Life history of immune maize weevils (Coleoptera: Curculionidae) on corn stored at constant temperatures and relative humidities in the laboratory. Environmental Entomology 23(6): 1459-1471.