การผลิตเคพกูสเบอร์รีในวัสดุปลูกไร้ดิน

Main Article Content

ชินพันธ์ ธนารุจ
วิภาวี มีระหันนอก

บทคัดย่อ

     ศึกษาวัสดุปลูกเคพกูสเบอร์รีในวัสดุไร้ดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของ เคพกูสเบอรร์ ีโดยใหปุ้ย๋ ไฮโดรโปนิกส ์ ในพื้นที่ที่มีความสูง 300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาวัสดุปลูกเคพกูสเบอร์รีจำนวน 8 ชนิดคือ ขุยมะพร้าวล้างด้วยแคลเซียมไนเตรท ขุยมะพร้าวล้างด้วยนํ้าเปล่า ขุยมะพร้าวไม่ล้างนํ้า กาบมะพร้าวสับล้างด้วยแคลเซียมไนเตรท กาบมะพร้าว สับล้างด้วยนํ้าเปล่า กาบมะพร้าวสับไม่ล้างนํ้า ทรายและถ่านแกลบ โดยพบว่าการปลูกเคพกูสเบอร์รี ในขุยมะพร้าวที่ล้างด้วยแคลเซียมไนเตรทมีการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดคือ 78.22 เซนติเมตร และมี ความกว้างของทรงพุ่ม 44.80 เซนติเมตร แต่เคพกูสเบอร์รีที่ปลูกในกาบมะพร้าวสับที่ล้างด้วยนํ้าเปล่า และล้างด้วยแคลเซียมไนเตรท มีผลต่อขนาดทำให้ผลใหญ่คือ 4.43 และ 4.38 กรัม ตามลำดับ ซึ่งมี ความแตกต่างกับทุกสิ่งทดลองที่เหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาวัสดุปลูก ที่ดีจากการทดลองที่ 1 ได้แก่ ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ทรายผสมขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ทราย ผสมกาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน 1:1 ทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1 ถ่านแกลบผสมขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ถ่านแกลบผสมกาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน 1:1 ขุยมะพร้าวผสมทรายและถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1:1 และกาบมะพร้าวสับผสมทรายและถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1:1 พบว่าเคพกูสเบอร์รี ที่ปลูกในวัสดุปลูกผสมกันระหว่างทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1 มีผลต่อการเจริญเติบโตในช่วง 1 เดือนแรก คือมีความสูง 15.12 เซนติเมตร และมีขนาดทรงพุ่ม 15.50 เซนติเมตร และในเดือนที่ 2 หลังปลูกเป็นต้นไป ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งด้านความสูงและขนาดของทรงพุ่ม ส่วนที่ปลูก ในทรายผสมกับกาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน 1:1 พบว่ามีนํ้าหนักผลสูงที่สุดคือ 6.31 กรัม ซึ่งไม่แตกต่าง ทางสถิติกับขุยมะพร้าวผสมทรายและถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1:1 และทรายผสมขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 คือ 5.89 และ 5.42 กรัม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนจิรา ชุมภูคำ, สิริกาญจนา ตาแก้ว และณัฐพงค์ จันจุฬา. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ด การรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของต้น ล้ามัลเบอร์รี่พันธุ์ “เวียดนาม GQ2”. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร.

ณรงชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2550. การผลิตไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็กในเขตร้อน. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. ม.ป.ป. ที่ปรึกษาเครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน. ใช้ถ่านแกลบปรับปรุงดิน ในยุคปุ๋ยแพงช่วยลดโลกร้อน...เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น. บ้านไร่นาเรา [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.banrainarao.com/knowledge/charcoal_chaff (สืบค้น 16 กันยายน 2560).

ศรีสุนันท์ กิจภักดีกุล และเยาวพา จิระเกียรติกุล. 2545. ผลของวัสดุปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2. น. 47-53.

สิริรัตน์ เพชรเหมือน. 2558. การศึกษาวัสดุปลูกท้องถิ่นที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม้แกรมมาโตฟิลลัม. สาขาการจัดการพืชสวนประดับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 4: 2558 บนฐานแนวคิดใหม่ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน.

สุชาดา. 2559. เคพกูสเบอร์รี ผลไม้คุณประโยชน์ดี๊ดี จนต้องบอกต่อ [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://health.mthai.com/howto/health-care/9997.html (สืบค้น 20 กันยายน 2560).

เรวัตร จินดาเจี่ย, อรุณศิริ กำลัง, จันทร์จรัส วีรสารและธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. ม.ป.ป. ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่โดยไม่ใช้ดิน. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 196 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร.

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน. 2559. ลักษณ์เคพกูสเบอรี่. องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/98 (สืบค้น 15 กันยายน 2560).

Andre, L. P., J. M. Eder, S. Anderson, S. J. Daniel, K. Klein, R. Leandro, V. Fabiola, Y. T. Claudio, and A. N. Gilmar. 2013. Emergence and Initial Development of Cape Gooseberry (Physalis peruviana) Seedlings with Different Substrate Compositions. Afri. J. of Agri. Rese. 8(49), 6579-6584.

Cikili, Y. and S. Halil. 2016. Response of Cape Gooseberry (Physalis peruviana L.) Plant at Early Growth Stage to Mutual Effects of Boron and Potassium. Gaziosmanpaşa University Ziraat Fakultesi Dergisi J .of Agri., Fac. of Gaziosmanpasa University. 33(2), 184-193.

Hassan Borji, A. M. Ghahsareh, M. Jafarpour. 2010. Effects of the Substrate on Tomato in Soilless Culture. Rese. J. of Agri. and Bio. Scien., 6(6): 923-927.

Intelligence, S. O. 2008. Berries in the World Report. SITRA.

Maloupa, A.E., A. Aboou-Hadid, M. Prasad, C. Kavafakis. 2001. Response of Cucumber and Tomato Plants to Different Substrates Mixtures of Pumice in Substrate Culture. Acta Hort., 550:.593-599.