การศึกษาเบื้องต้นลักษณะทางพันธุกรรม สัณฐานวิทยา และพฤกษเคมีของสัตฤๅษี

Main Article Content

สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง
พัชธาวดี ขุนไกร
เกษม ทองขาว
ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์
ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์
วินัย แสงแก้ว
สายชล โนสุวรรณ

บทคัดย่อ

     สัตฤๅษีเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นเหนือดินสูง 0.5-1.0 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนรอบข้อ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ฐานใบมน ปลายใบแหลม พบ 5-10 ใบ/ต้น ก้านใบสีนํ้าตาล ดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอด มีใบประดับ 4-6 ใบใต้ฐานรองดอก ผลแบบแคปซูลทรงกลม ผิวเรียบ เมล็ด สีแดงอมส้ม พบกระจายตัวบนพื้นที่สูงประมาณ 900-1,900 เมตร เจริญเติบโตในช่วงปลายฤดูร้อน-ปลาย ฤดูฝน พักตัวในฤดูหนาว-ฤดูร้อน มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านยาบำรุงกำลัง สมานแผล รักษาอาการชํ้า ในปัจจุบันอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการเก็บจากป่าจำนวนมาก กลุ่มสารสำคัญที่พบคือ สารซาโปนินและสารกลุ่มฟีนอล จากการสำรวจพบสัตฤๅษีจำนวน 10 พื้นที่ในภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสะเมิง อำเภอแม่วาง (ขุนวาง) อำเภอแม่แจ่ม (แม่จอนหลวง) อำเภอเชียงดาว อำเภอจอมทอง (บ้านขุนแตะ และบ้านแม่แดด) จังหวัดเชียงราย อำเภอเวียงป่าเป้า (บ้าน ขุนแม่ลาว) อำเภอเมือง (บ้านปางขอน) และจังหวัดน่าน (อำเภอแม่จริม) จากผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทางพันธุกรรมของสัตฤๅษีพบว่าตัวอย่างที่เก็บมาจาก 10 พื้นที่จำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม ที่มีความแตกต่าง ทางพันธุกรรมได้แก่ ดอยสะเก็ด (S1) สะเมิง (S2) แม่แจ่ม (S3) แม่วาง (S4) เวียงป่าเป้า (S5) เชียงดาว (S6) และ แม่จริม (S7) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมแบบ Agglomerative hierarchical clustering (AHC) สามารถแยกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่หนึ่งได้แก่ กลุ่มตัวอย่างจาก ดอยสะเก็ด (S1) สะเมิง (S2) เวียงป่าเป้า (S5) และ เชียงดาว (S6) กลุ่มที่สองได้แก่ กลุ่มตัวอย่างจาก แม่แจ่ม (S3) และ แม่วาง (S4) และกลุ่มที่สามได้แก่ กลุ่มตัวอย่างจาก แม่จริม (S7) จากการวิเคราะห์สารสำคัญจากส่วน หัวใต้ดินพบว่า ตัวอย่างจากเวียงป่าเป้า (S5) มีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ คือ 0.009 mg/gDW เมื่อวิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระพบว่า สัตฤๅษีที่สำรวจจากอำเภอสะเมิง (S2) มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 23.63±0.03 % และการวิเคราะห์ปริมาณ สารซาโปนินทั้งหมดพบว่า สัตฤๅษีที่สำรวจจากอำเภอแม่แจ่ม (S3) มีปริมาณสารซาโปนินทั้งหมด มากที่สุด คือ 32.26±0.65 mg/gDW

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัชชัย สันติสุข. ม.ป.ป. พันธุ์พืชหายากและถูกคุกคามของดอยเชียงดาว ภูเขาหินปูนในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทยความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศภูเขา. รายงานการประชุม วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ, กรุงเทพฯ. หน้า 53-64.

สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. กรมวิชาการเกษตร. 2542. แบบบันทึกลักษณะพืชภาคสนาม.

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2544. พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://www.rspg.or.th/plants_data/rare_plants /scien_name_p9.htm (13 สิงหาคม 2556).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 2550. สัตฤๅษี สารานุกรมพืชในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://web3dnp.go.th/botany/ detail.aspx?wordsnamesci=Paris0polyphylla0Smith0var.0chinensis0(Franchet)0H.0Hara (13 สิงหาคม 2556).

CNC-DIVERSITAS. 2012. Catalogue of Life China 2012 Annual Checklist. Available: http:// data.sp2000.cn/2012_cnnode_e/show_species_details.php? name_code=e21cc83d-5c35-4ba5-afe2-69a3830c74c9 (21 August 2013).

Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochem. Bull. 19: 11-15.

Madhu, K.C., S. Phoboo and P. K. Jha. 2010. Ecological study of Daiswa polyphylla Sm. ECOS 17: 87-93. Monocot. 2011. Daiswa polyphylla Sm. Available: http://e-monocot.org/taxonkew. org:wcs:taxon:283892 (13August 2013).

Qin, X., C. Chen, W. Ni, H. Yan and H. Liu. 2013. C22-steroidal lactone glycosides from stems and leaves of Paris polyphylla var. yunnanensis. Fitoterapia 84: 248-251.

Shah, S. A., P.B. Mazumder and M. D. Choudhury. 2012. Medicinal properties of Paris polyphylla Smith: A review. Journal of Herbal Medicine and Toxicology 6(1):27-33.

Wen, F., H. Yin, C. Chen, X. Liu, D. Xue, T. Chen, J.He and H. Zhang.2012.Chemical characteristics of saponins from Paris fargesii var. brevipetala and cytotoxic activity of its main ingredient, parissaponin H. Fitoterapia 83: 627-63.