ผลของการไพรม์เมล็ดด้วย KNO3 ร่วมกับการเคลือบเมล็ด ต่อความงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า และอายุการเก็บรักษา ของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

Main Article Content

จักรพงษ์ กางโสภา
เบญจมัย เหมืองทอง
เพชรรัตน์ จี้เพชร
สุรีมาศ จันต๊ะอินทร์
พีรพันธ์ ทองเปลว

บทคัดย่อ

     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จึงมีความต้องการผลผลิต จำนวนมาก แต่ในกระบวนการผลิตยังคงประสบปัญหาการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้สั้นลง จากปัญหาดังกล่าวจึงได้นำเทคโนโลยีด้านการไพรม์และการเคลือบ เมล็ดพันธุ์มาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ให้ดีขึ้น งานทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังผ่านการไพรม์เมล็ดพันธุ์ด้วย KNO3 และเคลือบเมล็ดร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราในอัตราที่แตกต่างกัน ดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 หัวข้อดังนี้ การทดลองที่ 1 จากการไพรม์เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร่วมกับ KNO3 ในอัตราที่แตกต่างกัน พบว่า การใช้ KNO3 อัตรา 1.5 กรัม ทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความเร็วในการงอกราก ความเร็ว ในการงอก ความยาวต้น ความยาวราก และผลรวมของต้นกล้า ดีกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติกับเมล็ด ที่ไม่ได้ผ่านการไพรม์มิ่ง ส่วนการทดลองที่ 2 หลังจากนำวิธีการไพรม์เมล็ดที่ดีที่สุด 2 อัตรา มาเคลือบแล้ว นำไปเก็บรักษานาน 3 และ 4 เดือน ผลการทดลองพบว่า การเคลือบเมล็ดที่ผ่านการทำไพรม์มิ่งด้วย KNO3 อัตรา 1.5 กรัม มีความงอกหลังผ่านการเก็บรักษา มากกว่าและแตกต่างในทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่าน การไพรม์มิ่งเมื่อตรวจสอบในสภาพเรือนทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ กางโสภา ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ เบญจมัย เหมืองทอง เพชรรัตน์ จี้เพชร และบัณฑิต ต๊ะเสาร์. 2563. การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวานลูกผสมหลังการทำ Osmo priming ด้วยโพแทสเซียมไนเตรท. วารสารแก่นเกษตร 48(พิเศษ 1): 437-444.

ชณิตรา โพธิคเวษฐ์ ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย อภิรดี อุทัยรัตนกิจ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2553. ผลของการทำ priming ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(พิเศษ3/1): 405-408.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2539. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นภาพร เวชกามา และพีระยศ แข็งขัน. 2561. การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคนิค Seed priming. วารสารเกษตรพระวรุณ 15(1): 17-30.

บุญมี ศิริ และสุวารี ก่อเกษตรวิศว์. 2554. ผลของสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสม SCHB01. รายงานการประชุมวิชาการข้าวโพดและข้าวฟ่าง แห่งชาติ ครั้งที่ 35, กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 24-27 พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 476-483.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,ขอนแก่น.

พจนา สีขาว และบุญมี ศิริ. 2550. ผลของการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์พริกหวานที่มีคุณภาพต่างกันโดยวิธีการทำ seed priming. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38(พิเศษ 5): 168-172.

พจนา สีขาว. 2551. ผลของ seed priming ด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธพ์ ุ ริกหวาน (Capsicum annuum L.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิทยา สรวมศิริ. 2554. ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม. 2560. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล http://www.aecth.org (26 กุมภาพันธ์ 2563).

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันชัย จันทรป์ ระเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ตารางแสดงรายละเอียดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูลwww.oae.go.th (13 กุมภาพันธ์ 2563).

สิริมล ขันแก้ว อรพันธ์ ชัยมงคล เพ็ญศิริ ศรีบุรี สุชาดา เวียรศิลป์ และสงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์. 2554. ประสิทธิภาพของการเคลือบเมล็ดด้วยโพแทสเซียมไนเตรตร่วมกับพอลิเอธิลีนไกลคอลที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42(พิเศษ 1): 414-416.

Anosheh, H.P., H. Sadeghi and Y. Emam. 2011. Chemical priming with urea and KNO3 enhances maize hybrids (Zeamays L.) Seed Viability under Abiotic Stress. J. Crop Sci. Biotechnol. 14(4): 289-295.

Barker, A.V. and D.J. Pilbeam 2007. Handbook of plant nutrition. Taylor & Francis, Boca Raton.

Basra, S.M.A., M. Farooq, R. Tabassam and N. Ahmad. 2005. Physiological and biochemical aspects of presowing seed treatments in fine rice (Oryza sativa L.). Seed Sci. Technol. 33(3): 623-628.

Gupta S.M., P. Pandey, A. Grover and Z. Ahmed. 2011. Breaking seed dormancy in Hippophae salicifolia, a high value medicinal plant. Physiol. Mol. Biol. Plants 17: 403-406.

Henning, A.A. 1990. Polymeric coatings improve the storage life of soybean seeds. Ph.D. Thesis. University of Florida.

Hilton, T.R. and J.A. Thomas. 1986. Regulation of pregerminative rates of respiration in seeds of various seed species by potassium nitrate. J. Exp. Bot. 37: 1516-1524.

Hwang, W.D. and F.J.M. Sung. 1991. Prevention of soaking injury in edible soybean seeds by ethyl cellulose coating. Seed Sci. Technol. 19: 269-378.

International Seed Testing Association (ISTA). 2018. International rules for seed testing, Edition 2018. International Seed Testing Association, Bassersdorf.

Mandal, A., R. Mondal, P. Mukherjee and S. Dutta. 2015. Seed enhancement through priming, coating and pelleting for uniform crop stand and increased productivity. J. Andaman Sci. Assoc. 20(1): 26-33.

McDonald, M.B. 2000. Seed priming. pp. 287-325. In: Black, M. and J.D. Bewley. (Eds). Seed technology and its biological basis. Sheffield Acadmic Press, Sheffield, England.

Nawaz, F., M. Naeem, A. Akram, M.Y. Ashraf, K.S. Ahmad, B. Zulfiqar, et al. 2017. Seed priming with KNO3 mediates biochemical processes to inhibit lead toxicity in maize (Zea mays L.). J. Sci. Food Agric. 97(14): 4780-4789.

Ni, B.R. 2001. Alleviation of seed imbibitonal chilling injury using polymer film coating. BCPC Symposium Proceedings 76(Seed Treatment): 73-80.

Ruttanaruangboworn, A., W. Chanprasert, P. Tobunluepop and D. Onwimol. 2017. Effect of seed priming with different concentrations of potassium nitrate on the pattern of seed imbibition and germination of rice (Oryza sativa L.). J. Integr. Agric.

(3): 605-613.

Sherin, S.J. 2003. Seed film coating technology using polykote for maximizing the planting value, growth and productivity of maize. Cv. Col. M.Sc. (Agri.) Thesis, Tamil Nadu Agricultural University, Coimbatore (India).