อิทธิพลของการเคลือบเมล็ดด้วย Captan และ Metalaxyl หลังผ่านการทำไพรม์มิ่งต่อความงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า และอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่มีความต้องการใช้มากในปัจจุบันเพื่อใช้ในการแปรรูปเป็นพืชอาหารสัตว์ แต่ในการเพาะปลูกมักประสบปัญหากับความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่ตํ่า เป็นผลกระทบ ที่มาจากกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้เมล็ดพันธุ์ มีการเสื่อมสภาพได้ง่าย งานทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเคลือบเมล็ดด้วย Captan และ Metalaxyl ที่ผ่านการทำไพรม์มิ่งและติดตามการเปลี่ยนแปลงความงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังผา่ นการเก็บรักษา โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชา พืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีผลการทดลองดังนี้ การเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ด้วย Captan และ Metalaxyl ที่อัตรา 0.5 g.ai. ไมท่ ำใหคุ้ณภาพความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ลดลงตลอดการเก็บรักษานาน 4 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบเมื่อตรวจสอบ ในสภาพห้องปฏิบัติการ แต่เมื่อตรวจสอบในสภาพเรือนทดลองพบว่า หลังผ่านการเก็บรักษาไปแล้วนาน 3 เดือน ความงอกและความเร็วในการงอกยังคงไม่พบความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่การเคลือบเมล็ด ด้วย Metalaxyl อัตรา 0.5 g.ai. มีความงอกและความเร็วในการงอกดีกว่าการเคลือบเมล็ดด้วย Captan และไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อผ่านการเก็บรักษาไปแล้วนาน 4 เดือน เมื่อตรวจสอบการเปลี่ยน การเจริญเติบโตของต้นกล้าพบว่า หลังผ่านการเก็บรักษาไปแล้วนาน 4 เดือน การเคลือบเมล็ดด้วย Captan และ Metalaxyl ที่อัตรา 0.5 g.ai. ยังคงมีความยาวต้นและนํ้าหนักสดลำต้นดีกว่า และแตกต่างในทาง สถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบเมื่อตรวจสอบทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพ เรือนทดลอง ส่วนความยาวรากเมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา นาน 4 เดือน การเคลือบเมล็ดทุกวิธีการไม่ทำให้ความยาวรากต้นกล้ามีความแตกต่างกันในทางสถิติกับ เมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2557. อิทธิของการพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อราต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วารสารแก่นเกษตร 42(พิเศษ 1): 110-116.
จักรพงษ์ กางโสภา ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ และเพชรรัตน์ จี้เพชร. 2563. อิทธิพลของการเคลือบเมล็ดด้วย Captan ต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลือง. วารสารแก่นเกษตร 48(พิเศษ 1): 445-452.
นภาพร เวชกามา และพีระยศ แข็งขัน. 2561. การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคนิค Seed priming. วารสารเกษตรพระวรุณ 15(1): 17-30.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2550. โรคและแมลงของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.
ภาณี ทองพำนัก วุฒิชัย ทองดอนแอ ประภาส ประสิทธิ์สูงเนิน กณิษฐา สังคะหะ ญาณี มั่นอ้น นันทนา ชื่นอิ่ม และบุญฤทธิ์ สายัมพล. 2541. การเคลือบเมล็ดพันธุ์พืช. รายงานการประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 5, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วรรณวิไล อินทนู จิระเดช แจ่มสว่าง ภาณี ทองพำนักและวุฒิชัย ทองดอนแอ. 2544. การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Gliocladium virens ที่เคลือบเมล็ดผักคะน้าในการป้องกันโรคเน่าระดับดินของต้นกล้า. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 39, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5-7 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย. 2561. ประชากรสัตว์ความต้องการใช้อาหารสัตว์. แหล่งข้อมูล https://bit.ly/2UG88cr (20 กุมภาพันธ์ 2563).
อรนุช เดียมขุนทด. 2556. ผลของวิธีการให้ความชื้นและการให้สารเคมีชนิดต่างๆ ในการทำ seed priming ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Baki, A. and J.D. Anderson. 1973. Vigor determination in soybean seed by multiple criteria. Crop Sci. 13: 630-633.
Bradford, K.J. 1995. Water relations in seed germination. pp. 351-396. In: Kigel, J., and G. Galili (eds.). Seed development and germination. Marcel Dekker, Inc., New York.
Dutta, P. 2018. Seed Priming: New Vistas and Contemporary Perspectives. pp. 3-22. In: Rakshit A., H. Singh (eds). Advances in Seed Priming. Springer, Singapore.
International Seed Testing Association (ISTA). 2018. International rules for seed testing, Edition 2018. International Seed Testing Association, Bassersdorf.
Jacob, S.R., M.B.A. Kumar, M. Gopal, C. Srivastava and S.N. Sinha. 2009. An analysis of the persistence and potency of film coated seed protectant as influenced byvarious storage parameters. Pest Manag. Sci. 65(7): 817-822.
Kavitha, M., V.K. Deshpande, B.S. Vyakaranahal, S. Awakkanavarj, Y. Hegde and J.C. Mathad. 2009. Seed pelleting with organic and inorganic inputs for vigour and viability in chilli seeds. Karnataka J. Agric. Sci. 22(2): 296-300.
Keawkham, T., B. Siri and R.K. Hynes. 2014. Effect of polymer seed coating and seed dressing with pesticides on seed quality and storability of hybrid cucumber. Aust. J. Crop Sci. 8(10): 1415-1420.
McCord, J.M. 2000. The evolution of free radicals and oxidative stress. Am. J. Med. 108(8): 652-659.
McDonald, M.B. 1999. Seed deterioration: Physiology, repair and assessment. Seed Sci. & Technol. 27: 177-237.
Mcdonald, M.B. 2000. Seed priming. pp. 287-326. In: Seed technology and its biology basis. Black, M., and J.D. Bewley (eds.). Sheffield Academic Press, Sheffield, England.
Narvaey-Vasquez, J., J. Florin-Christensen and C.A. Ryan. 1999. Positional specificity of a phospholipase an activity induced by wounding systemic and oligosaccharide elicitors in tomato leaves. Plant Cell 11: 2249-2260.
Pedrini, S., D.J. Merritt, J. Stevens and K. Dixon. 2017. Seed coating: Science or marketing spin?. Trends Plant Sci. 22(2): 106-116.
Petit, A., F. Fontaine, P. Vatsa, C. Clément and N. Vaillant-Gaveau. 2012. Fungicide impacts on photosynthesis in crop plants. Photosynth. Res. 111: 315-326.
Priestley, D.A. 1986. Seed aging: Implications of seed storage and persistence in the soil. Cornell University Press, Ithaca, New York.
Rosslenbroich, H.J. and D. Stuebler. 2000. Botrytis cinerea-history of chemical control and novel fungicides for its management. Crop Prot. 19(8): 557-561.
Thobunluepop, P., C. Jatisatienr, E. Pawelzik and S. Vearasilp. 2009. In vitro screening of the antifungal activity of plant extracts as fungicides against rice seed borne fungi. Acta Horticulturae 837: 223-228.
Van Iersel, M.W. and B. Bugbee. 1996. Phytotoxic effects of fungicides on bedding plants. J. Am. Soc. Hort. Sci. 121: 1095-1102.
Waqas, M., N.E. Korres, M.D. Khan, A.S. Nizami, F.D., I. Ali and H. Hussain. 2019. Advances in the Concept and Methods of Seed Priming. pp. 11-41. In: Hasanuzzaman M., and V. Fotopoulos (eds). Priming and Pretreatment of Seeds and Seedlings. Springer, Singapore.