การทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขิงปลอดโรคในสภาพไร่

Main Article Content

จิตอาภา จิจุบาล
ไว อินต๊ะแก้ว
ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์
สนอง จรินทร

บทคัดย่อ

โรคเหี่ยวจากเชื้อ Ralstonia solanacearum ของขิง จะแสดงอาการใบเหี่ยวม้วนจากต้นถึง ปลายยอด โคนต้นและเหง้ามีลักษณะฉํ่านํ้า เน่าเปื่อยมีกลิ่นเหม็น เมื่อผ่าหัวหรือต้นจุ่มนํ้าจะมีเมือกข้น สีขุ่นขาวคล้ายนํ้านมไหลเป็นทาง อาการทั้งหมดใช้เวลา 5-7 วัน แพร่ระบาดในแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว ด้วยความชื้นและนํ้า ทำความเสียหายอย่างสูงต่อการผลิตและการตลาดของขิง ทุกพื้นที่ปลูกขิงทั้งใน เขตร้อนและเขตกึ่งรอ้ นทั่วโลก เชื้อโรคเหี่ยวจะอาศัยอยูทั่้งในหัวพันธุ์ขิง ในพืชอาศัยตระกูลขิงและตระกูล มะเขือ อาศัยอยู่ในดินและแปลงปลูก การปลูกขิงของเกษตรกรจึงมีการย้ายพื้นที่ปลูกใหม่ทุกปีเพื่อ หลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค แหล่งปลูกขิงส่วนใหญ่อยู่ตามพื้นที่ลาดชันแนวภูเขา จึงก่อเกิดปัญหา การทำลายป่า หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย สภาพแวดล้อมและโครงสร้างของดินเปลี่ยน ดินเสื่อมความ อุดมสมบูรณ์ เกิดการตกค้างของสารเคมีเป็นพิษต่อดิน นํ้าและชุมชน เกิดการดื้อยาและระบาดของโรค และแมลง จากปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ดำเนินการวิจัยหาแนวทางการปลูกขิงปลอดโรคเหี่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกขิงซํ้าพื้นที่ได้ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขิงแบบผสมผสาน คือ การฆ่าเชื้อโรค ในแปลงปลูกด้วยการหว่านปูนขาวผสมยูเรีย อัตรา 800:80 กิโลกรัม/ต่อไร่ ไถกลบนาน 1 เดือน การใช้ เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 และการใช้หัวพันธุ์ขิงปลอดโรคที่ได้จาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยปลูกซํ้าแปลงเดิมต่อเนื่อง 3 ปี และปลูกเปรียบเทียบกับการผลิตขิงของเกษตรกร ที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ในปี 2559-2563 พบว่าหลังจากปลูก 11 เดือน ผลผลิตขิงทุกรุ่นปราศจาก โรคเหี่ยว โดยหัวพันธุ์ขิงรุ่น G3 มีจำนวนแง่งต่อเหง้าเฉลี่ยมากที่สุด 17 แง่ง สูงกว่าหัวพันธุ์รุ่นอื่น ๆ มีนํ้าหนักต่อเหง้าเฉลี่ยตํ่าสุด 433 กรัม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับขิงทุกรุ่น ขิง G5 มีนํ้าหนักต่อเหง้าเฉลี่ยมากที่สุด 1,409 กรัม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับขิงที่การผลิตขิงของ เกษตรกรซึ่งมีนํ้าหนักต่อเหง้าเฉลี่ย 910 กรัม หัวพันธุ์ขิงรุ่น G3, G4 และ G5 ให้ผลผลิตต่อไร่ 3,248 10,133 และ 10,568 กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งขิงรุ่น G5 ที่ปลูกซํ้าแปลงเดิมปีที่ 3 ตามกรรมวิธีของ กรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าแปลงปลูกขิงของเกษตรกรที่ได้ผลผลิต 6,725 กิโลกรัม ผลผลิต เพิ่มขึ้นจากแปลงของเกษตรกรคิดเป็น 36.36% ต้นทุนการผลิตขิงรุ่น G3 มีต้นทุน 28,817 บาท/ไร่ สูงกว่าขิงทุกรุ่นเนื่องจากหัวพันธุ์มีราคาแพงเกษตรกรที่ปลูกขิงรุ่น G5 มีรายได้เฉลี่ย 211,360 บาท/ไร่ ส่งผลให้ได้กำไรสุทธิสูงถึง 186,060 บาท/ไร่ สูงกว่าการผลิตขิงของเกษตรกร คิดเป็น 41.08% ส่งผลให้ ค่า BCR สูงสุด 7.35 ปี 2562-2563 ขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดทำเอกสารองค์ความรู้ แปลงต้นแบบศูนย์เรียนรู้ ขยายผลสู่แปลงต้นแบบศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เขาค้อ และวิสาหกิจชุมชนบริการองค์ความรู้และศึกษาดูงานในแปลงปลูกแก่เกษตรกร 137 ราย พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิต หัวพันธุ์ขิงปลอดโรครุ่น G4 และ G5 นํ้าหนัก 9,040 กิโลกรัม ปลูก ในพื้นที่ 20.1 ไร่ ของเกษตรกรอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ การผลิตขิงโดยใช้หัวพันธุ์ปลอดโรค ร่วมกับการจัดการดิน และการใช้ BS-DOA 24 จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ปลอดโรค ปลูกซํ้าได้ในพื้นที่เดิม ส่งผลให้เกษตรกรลดต้นทุน และมีรายได้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตอาภา จิจุบาล. 2563. ปลูกขิงซํ้าพื้นที่เดิม. หนังสือพิมพ์กสิกร. 93(5): 65-73.

ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ และบุษราคัม อุดมศักดิ์. 2551. พัฒนาสูตรสำเร็จแบคทีเรีย Bacillus subtilis ควบคุมโรคเหี่ยวในขิง. รายงานผลการวิจัยประจำปี 2551. กลุ่มวิจัยโรคพืช, สำ นักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.

ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล วงศ์ บุญสืบสกุล อรพรรณ วิเศษสังข์ และทัศนาพร ทัศคร. 2547. การศึกษาการใช้ประโยชน์จากเชื้อ Bacillus spp. ในการควบคุมโรคเหี่ยวของขิงและมะเขือเทศ. น. 115-126 ในรายงานผลการวิจัยประจำปี 2547. กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์ บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ จิตอาภา ชมเชย ศศิธร วรปิติรังสี สนอง จรินทร ไว อินต๊ะแก้ว เสาวลักษณ์ บันเทิงสุข พรอนันต์ แข็งขัน สุรชาติ คูอาริยะกุล วิมล แก้วสีดา ทัศนีย์ ดวงแย้ม ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล และสุภา สุขโชคกุศล. 2558. รายงานโครงการวิจัยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ. แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2152. (5 เมษายน 2563).

ไว อินต๊ะแก้ว ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล จิตอาภา จิจุบาล ศิริลักษณ์ พุทธวงค์ ทิพย์ดรุณี สิทธินาม สนอง จรินทร และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์. 2562. โครงการวิจัยพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ. รายงานโครงการวิจัยเรื่องเต็ม. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

สนอง จรินทร ทัศนีย์ ดวงแย้ม บูรณีย์ พั่ววงษ์แพทย์ และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์. 2558. การศึกษาระยะปลูกของขิงจากต้นกล้าและหัวพันธุ์ขิงปลอดโรคเพื่อผลิตหัวพันธุ์ขิง (mini rhizome)

และขิงปลอดโรค (G0) ในสภาพโรงเรือน. แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/hort/wp-cntent/uploads/201911 (29กันยายน 2563).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการส่งออก (Export) ขิงแห้งและขิงสด: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/ export_result.php. (29 กันยายน 2563).

Abd-El-Khair, H. and H.I. Self El-Nasr. 2011. Applications of Bacillus subtilis and Trichoderma spp. for controlling the potato brown rot in field. Arch PhytopatholPflanzenschutz 45(1): 1-15.

Ewuziem, J.E. and V.O. Onyenobi. 2012. Cost and return analysis of ginger production in the Guinea Savannah of Nigeria. J. Trop. Agric. Food. Sci. 10(2): 26-36.

Fikre, T. and A. Kifle. 2013. Ginger (Zingiber OficinaleRosec.): Production, postharvest handling, processing and marketing-a comprehensive extension package manual. FARM AFRICA, Ethiopia Country Office.

Hashem, A., B. Tabassum and E. Fathi Abd Alldh. 2019. Bacillus subtilis: a plantgrowth promoting rhizobacterium that also impacts biotic stress. Saudi. J. Biol. Sci. 26: 1291-1297.

Hayward, A.C. 1991. Biology and epidemiology of bacterial wilt caused by Pseudomonas solanacearum. Ann. Rev. of Phytopathology 29: 65-87.

Jayashree, E., K. Kandiannan, D. Prasath, P. Rashid, B. Sasikumar, C.M.K. Senthil, V. Srinivasan, R.B. Suseela and C.K. Thankamani. 2015. Ginger. ICAR-Indian Institute of Spices Research, Kozhikode, Kerala, India.

Kirdmanee, C., K. Mosaleeyanon and M. Tanticharoen. 2004. A Novel approach of bacteria-free rhizome production of ginger through biotechnology. Acta Hortic. 629: 457-461.

Kositcharoenkul, N., B. Puawongphat, T. Kanhayart and R. Tongkreng. 2014. Development of bioproduct of Bacillus subtilis BS-DOA 24 strain for controlling bacterial wilt of ginger. In Annual Report of Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture in 2004. Thai Agric. 32(3):

-251.

Meng, F. 2013. Ralstonia Solanacearum species complex and bacterial wilt disease. J. Bacteriol. Parasitol. 4: 2.

NdaNmadu, J. 2013. Efficiency of ginger production in selected local government areas of Kaduna State, Nigeria. IJFAEC 1(2): 39-52.

Nelson, S. 2013. Bacterial wilt of edible ginger in Hawaii. Plant Disease. Department of Plant and Environmental Protection Sciences.

Raghu, S. 2011. Studies on management of rhizome wilt of ginger with special reference to Ralstonia solanacearum (E.F. Smith) Yabuuchi et al. Master of Science (Agriculture) in Plant Pathology. University of Agricultural Sciences, Dharwad, Karnataka, India.

Shoaib, M., A. Shehzad, M.S. Butt, M. Saeed, H. Raza, S. Niazi, I.M. Khan and A. Shakeel. 2016. An overview: ginger, a treamendous herb. J. glob. innov. agric. soc. sci. 4(4): 172-187.

Smith, M.K. and S.D. Hamill. 1996. Field evaluation of micropropagated and conventionally propagated ginger in subtropical Queensland. Aust J Exp Agric 36: 347-354.

Thaveechai, N., O. Sahavacharin, C. Sagwansupyalorn and P. Rama Raj. 1997. Effect of planting material on growth and seed rhizome yield of ginger (Zingiber officinale Roscoe). Kasetsart Journal (Natural Sciences) (Thailand) 31(4): 445-451.

Wang, Z, Y. Li, L. Zhuang, Y. Yu, J. Liu, Z. Lixia, G. Zhenjiang, W. Yufeng, G. Wa, D. Guo-chun and W. Qi. 2019. A Rhizosphere-derived consortium of Bacillus subtilis and Trichoderma harzianum suppresses common scab of potato and increases yield. Comput. Struct. Biotechnol. J 17: 645-653.

White, F., S. Motomura, S. Miyasaka and B.A. Kratky. 2013. A Simplified method of multiplying bacterial wilt-free edible ginger (Zingiber officinale) in pots. Plant

Disease. College of Tropocal Agriculture and Human Resource. University of Hawai au Manoa.

Yu, Q., A.M. Alvarez, P.H. Moore, F. Zee, M.S. Kim, A. de Silva, P.R. Hepperly and R. Ming. 2003. Molecular diversity of Ralstonia solanacearum isolated from ginger in Hawaii. Phytopathology 93(9): 1124-1130.