ความคงตัวทางพันธุกรรมของฝรั่ง

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ สะระ
ฉันทนา วิชรัตน์
ธีรนุช เจริญกิจ
แสงทอง พงษ์เจริญกิต

บทคัดย่อ

     ฝรั่ง (Psidium guajava L.) เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีแหล่งผลิตอยู่ในหลายประเทศรวมถึง ประเทศไทย ซึ่งฝรั่งหลายพันธุ์มีประวัติพันธุ์ไม่ชัดเจน แต่การจำแนกพันธุ์ฝรั่งมีความจำเป็นในการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงตัวทางพันธุกรรมของฝรั่งจำนวน 18 พันธุ์ ด้วยลักษณะปรากฏโดยเก็บข้อมูลลักษณะสีใบ สีผิวของผล สีเนื้อ และการกระจายตัวของลูก ที่ได้จากการผสมตัวเอง ร่วมกับการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเครื่องหมาย SSR จำนวน 9 ไพรเมอร์ ผลการศึกษา พบว่า จากลักษณะที่ปรากฏของลูกที่ได้จากการผสมตัวเองมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสีใบของ ต้นลูกไม่แตกต่างจากต้นแม่ มีจำนวน 12 พันธุ์ และกลุ่มสีใบของต้นลูกแตกต่างจากต้นแม่ มีจำนวน 6 พันธุ์ ซึ่งกลุ่มหลังสามารถระบุได้ว่าฝรั่งพันธุ์เหล่านี้ไม่มีความคงตัวทางพันธุกรรม เมื่อตรวจสอบ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของฝรั่งจำนวน 18 พันธุ์ ด้วยเครื่องหมาย SSR พบว่า มีเพียงพันธุ์พุทรามีลายพิมพ์ ดีเอ็นเอของต้นแม่และลูกเหมือนกันทุกต้นในทุกเครื่องหมายที่ใช้ในการศึกษาแสดงว่าฝรั่งพันธุ์พุทรา มีความคงตัวทางพันธุกรรมสูงสุด ในขณะที่ฝรั่งอีก 17 พันธุ์ ไม่มีความคงตัวทางพันธุกรรม เนื่องจากมี ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของต้นแม่และต้นลูกมีความแตกต่างกันในบางเครื่องหมาย จึงสามารถสรุปได้ว่าฝรั่ง พันธุ์พุทรามีความคงตัวทางพันธุกรรมสูงจากทั้งลักษณะปรากฏและลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพลังงาน. 2563. “ลดโลกร้อน” ด้วยตัวเรา.แหล่งข้อมูล http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/Publication/Knowledge/green%20the%20earth.pdf (20 ธันวาคม 2563)

กิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ และธัญสิษฐ์ พวงจิก. 2545. การปรับปรุงพันธุ์มะม่วงไทยโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จรรยา มณีโชติ วันเพ็ญ ศรีทองชัย ศันสนีย์ จำจด และกิ่งกาญจน์ พิชญกุล. 2553. การใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของข้าววัชพืชในเมล็ดพันธุ์ข้าว. แหล่งข้อมูล https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=978 (22 ธันวาคม 2563)

จันทร์เพ็ญ สะระ ฉันทนา วิชรัตน์ ธีรนุช เจริญกิจ พาวิน มะโนชัย และแสงทอง พงษ์เจริญกิต. 2560. การพัฒนาเครื่องหมาย SCAR ด้วยเทคนิค Touchdown PCR เพื่อตรวจสอบลำไยลูกผสม. น. 46-54. 7-8 ธันวาคม. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

พจณีย์ มะลิชื่น. 2554. การศึกษาการผสมพันธุ์ชั่วที่ 1 จากการผสมข้ามฝรั่ง 3 พันธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาวี ชั้นโรจน์ กัลยารัตน์ ภู่สุดแสวง ขวัญใจ พิพัฒน์เจริญวงศ์ และกิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ. 2553. การสร้างแผนที่พันธุกรรมของปาล์มนํ้ามัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18(4): 1-11.

ศุภลักษ์ สัตยสมิทสถิต และจิระ สุวรรณประเสริฐ. 2560. การตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรมของข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 โดยเครื่องหมายโมเลกุลชนิด SSRs. น. 224-232. 31 มกราคม-3 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2563. รายชื่อพันธุ์พืชขอขึ้นทะเบียน และพันธุ์พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว (ร.พ.2). แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/pvp/?page_id=509 (15 ธันวาคม 2563)

อรรัตน์ มงคลพร. 2548. เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ.

Ahmed, B., M.A. Mannan and S.A. Hossain. 2011. Molecular characterization of guava (Psidium guajava L.) germplasm by RAPD analysis. International Journal of Natural Sciences. 1(3): 62-67.

Grattapaglia, D. and R. Sederoff. 1994. Genetic Linkage Maps of Eucalyptus grandis and Eucalyptus urophylla Using a Pseudo-Testcross: Mapping Strategy and RAPD Markers. Genetics. 137: 1121-1137.

Mehmood, A., S. Luo, N. M. Ahmad, C. Dong, T. Mahmood, Y. Sajjad, M. J. Jaskani and P. Sharp. 2016. Molecular variability and phylogenetic relationships of guava (Psidium guajava L.) cultivars using inter-primer binding site (iPBS) and microsatellite (SSR) markers. Genet Resour Crop Evol. 63: 1345-1361.

Padmakara, B., C. Kanupriyaa, P. Madhavi Lathaa, K. S. Prashanta, M. R. Dineshb, D. Sailaja and C. Aswatha. 2015. Development of SRAP and SSR markerbased genetic linkage maps of guava (Psidium guajava L.). Scientia Horticulturae. 192: 158-165.

Shiva, B., A. Nagaraja, R. Singh and M. Srivastav. 2017. Genetic Diversity of Guava Genotype Evaluated Using RAPD Molecular Marker. International Journal of Genetics. 9(5): 272-274.

Yea, S., Y. Wanga, D. Huangb, J. Li, Y. Gonga, L. Xua and L. Liua. 2013. Genetic purity testing of F1 hybrid seed with molecular markers in cabbage (Brassica oleracea var. capitata). Scientia Horticulturae. 155: 92-96.