ทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงปลานิลเข้าสู่ระบบอินทรีย์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล บ้านแม่แก้ด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงปลานิลเข้าสู่ระบบอินทรีย์ตลอดจนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม การเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอินทรีย์ ของเกษตรกรบ้านแม่แก้ด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรคือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์พื้นที่อำเภอสันทราย กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จำนวน 105 ราย คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความถูกต้องและความเชื่อมั่นร่วมกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและไคร์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมเกษตรกรส่วนใหญ่มีทัศนคติในแง่บวกเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ สำหรับประเด็นย่อยด้านสิ่งแวดล้อม วิธีการเลี้ยงในระบบอินทรีย์และการตลาด เกษตรกรมีทัศนคติในแง่บวกเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามเกษตรกรมีทัศนคติแง่ลบเกี่ยวกับประเด็นความพร้อมของกลุ่มเกษตรกร สำหรับปัจจัยประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลานิล จำนวนครั้งของการฝึกอบรม ขนาดปลานิลที่เริ่มเลี้ยงรวมทั้งความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อสรุปแนวทางการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตคือ การคัดเลือกเกษตรกรรายย่อยหรือกลุ่มที่มีประสบการณ์และความพร้อมสูง เพื่อเป็นผู้นำต้นแบบการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ มากกว่านั้นการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลผลิต เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต วิธีการผลิตปลานิลอินทรีย์ การตลาดและการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ควรมีการดำเนินการให้ครบวงจรการผลิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณิต สุขรัตน์ และดุสิต อธินุวัฒน์. 2563. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(1): 68-76.
ณัชชา ลูกรักษ์ ดุสิต อธินุวัฒน์ และธีระ สินเดชารักษ์. 2556. ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2(2): 125-133.
ณัฐวุฒิ จั่นทอง และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2559. การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร 32(1): 19-27.
นราศิณี แก้วไหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และประทานทิพย์ กระมล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387 – 395.
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์. 2550. การวิจัยทางพยาบาล. แหล่งข้อมูล http://www.elahs.ssru.ac.th/jeerapa_pa/pluginfile.php/33/block_html/content/บทที่-6_เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.pdf (1 สิงหาคม 2564).
ยุทธพล ทองปรีชา และดุษฎี ณ ลำปาง. 2554. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร 27(1): 1-10.
วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. 2560. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย : บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 20(1): 199-215.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. 2545. จิตวิทยาสังคม ทฤษฎีและการปฏิบัติการ. สุรีวิยาสาส์น, กรุงเทพมหานคร.
สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8(6): 596-608.
สุณี หงษ์วิเศษ ปริญญา นาคปฐม กฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์ และธนวัฒน์ พิมลจินดา. 2563. การส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์: ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและปัจจัยทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 17(1): 16-33.
สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่. 2563. ข้อมูลผลผลิตด้านการเพาะเลี้ยง จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล https://www.fisheries.go.th/fpo-chiangmai/web2/images/document/spp57-58.pdf (1 สิงหาคม 2564).
สมเกียรติ วงศ์ประเสริฐ และวิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2561. ทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7(4): 399-407.
สรพงษ์ เบญจศรี และชฎารัตน์ บุญจันทร์. 2554. ศึกษาความเป็นไปได้ในการตัดสินใจปลูกกระเจี๊ยบเขียวภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 19(1): 24-32.