ผลของการฉีดพ่นทางใบด้วยสารละลายแคลเซียมและโบรอนต่อคุณภาพผลผลิตของเมล่อน

Main Article Content

รักษ์สุดา คำดี
ธรรมธวัช แสงงาม
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ศิริสุดา บุตรเพชร
อาณัติ เฮงเจริญ
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการฉีดพ่นแคลเซียมและโบรอน (CaB) ทางใบต่อคุณภาพผลผลิตของเมล่อน วางแผนการทดลอง Factorial in Randomized Complete Block Design ปัจจัยแรกประกอบด้วย การไม่ฉีดพ่น CaB ฉีดพ่น CaB อัตรา 0.75, 1.5, 2.25 และ 3.0 มิลลิลิตร/ลิตร หลังระยะดอกบาน สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วย เมล่อนสายพันธุ์ Honeydew 1348 และสายพันธุ์ TM-052 ผลการทดลองพบว่าการให้ CaB ทางใบในอัตราต่างกันมีผลให้น้ำหนักผลสด เส้นผ่านศูนย์กลางผล ความหนาเปลือก ความหนาเนื้อ ความแน่นเนื้อ ปริมาณของของแข็งที่ละลายน้ำได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การให้ CaB ทางใบอัตรา 3 มิลลิลิตร/ลิตร ส่งผลให้น้ำหนักผลสด (1,866 กรัม) ความหนาของเนื้อ (37 มิลลิเมตร) ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (14.06 องศาบริกซ์) และเส้นผ่านศูนย์กลางผล (15.51 เซนติเมตร) สูงที่สุด เมื่อพิจารณาอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัย พบว่า การให้ CaB ทางใบอัตรา 3 มิลลิลิตร/ลิตร ในสายพันธุ์ TML-052 มีผลให้ความหนาเนื้อและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงสุด โดยสายพันธุ์ TM-052 ให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์ Honeydew 1348 ความเข้มข้นของแคลเซียมและโบรอนในเมล่อนที่ระยะเก็บเกี่ยว พบว่าสายพันธุ์ Honeydew 1348 มีความเข้มข้นของแคลเซียมในเนื้อผลและใบสูงกว่าสายพันธุ์ TML-052 ในทางตรงกันข้ามสายพันธุ์ TML-052 มีความเข้มข้นโบรอนในเนื้อผลมากกว่าสายพันธุ์ Honeydew 1348 การฉีดพ่น CaB อัตรา 3 มิลลิลิตร/ลิตร ส่งผลให้ความเข้มข้นของแคลเซียมและโบรอนในส่วนต่างๆ ของพืชสูงที่สุด นอกจากนี้ การให้ CaB ทางใบอัตรา 3 มิลลิลิตร/ลิตร ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (16,524 บาท/รอบการผลิต สำหรับพันธุ์ Honeydew 1348 และ 25,084 บาท/รอบการผลิต สำหรับพันธุ์ TM-052)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จรัณธร บุญญานุภาพ วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ และกัญจน์ชนา เม้าสิ้ว. 2561. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิง สิ่งแวดล้อมของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในสวนยางพาราบริเวณพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่าน. มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26(3): 80-97.

ชัยสิทธิ์ ทองจู วีระศรี เมฆตรง บัวบาง ยะอูป โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์ วิสิฐ กิจสมพร และวรวิทย์ ยี่สวัสดิ์. 2559. ผลของการใช้แคลเซียมร่วมกับโบรอนที่มีต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบและปริมาณผลผลิตในพลับพันธุ์ซิชูและพันธุ์ฟูยู. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(3): 1-10.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญ. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นภาพร จิตต์ศรัทธา และวัชรวิทย์ รัศมี. 2562. ผลของชนิดวัสดุปลูกที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตเมล่อน. วารสารรำไพพรรณี 13(2): 17-24.

นุชนาฏ ภักดี และพีระศักดิ์ ฉายประสาท. 2553. ผลของสารแคลเซียม-โบรอน (Ca-B) และกรดจิบเบอเรลลิค (GA3) ที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของส้มโอพันธุ์ท่าข่อย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 4(พิเศษ 1): 114-117.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศราวุธ จันทะพรหม. 2558. การปลูกเมล่อนในโรงเรือน. เอ็มไอเอส จำกัด, กรุงเทพฯ.

สายน้ำผึ้ง เหลาภวังค์ เจนจิรา ชุมภูคำ อิษยา นะมิกิ วีระศรี เมฆตรง และกฤษณา กฤษณพุกต์. 2562. ผลของแคลเซียมโบรอนและจิบเบอเรลลิคแอซิดต่อการพัฒนาคุณภาพผลผลิตพลับพันธุ์ฟูยู. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8(1): 11-19.

Ali, H., A.H. Shah, M. Naeem, J. Khan, A. Majid, Z. Iqbal and H. Ahmad. 2014. Effect of foliar application of micronutrients on persimmon fruit quality and yield.Int. J. Biosci. 4: 82-88.

Bernadac, A., l. Jean-Baptiste, G. Bertoni and P. Morard. 1996. Changes in calcium contents during melon (Cucumis melo L.) fruit development. Scientia Hort. 66:181–189.

Carmona, V.V., L.C. Costa and F.A.B. Cecílio. 2015. Symptoms of Nutrient Deficiencies on Cucumbers. International Journal of Plant and Soil Science. 8(6): 1-11.

George, A.P., R.J. Nissen, R.H. Broadley and R.J. Collins. 2003. Improving the nutritional management of non-astringent persimmon in subtropical Australia, Acta Hort. 601: 131-138.

Jones, B.J., B. Jr. Wolf and H.A. Mill. 1991. Plant Analysis Handbook. Micro-Macro Publishing Inc, Georgia.

Lamikanra, O and M.A. Watson. 2004. Effect of calcium treatment temperature on fresh-cut cantaloupe melon during storage. Journal of Food Science. 69: 468–472.

Lester, G. 1996. Calcium alters senescence rate of postharvest muskmelon fruit disks. Postharvest Biology and Technology. 7: 91-96.

Lovatt, C.J. 2013. Properly timing foliar applied fertilizers increase efficacy: A review and update on timing foliar nutrient applications to citrus and avocado. Horticultural Technology. 23(5): 536-541.

McLaughlin, S.B and R. Wimmer. 1999. Calcium physiology and terrestrial ecosystem process: New Phytol. 142: 373-417.

Mengel, K. and E.A. Kirkby. 1982. Principles of plant nutrition. 3rdeditiod. International Potash Institute.Bern, Switzerland.

Sarrwy, S.M.A., E.G. Gadalla and E.A.M. Mostafa. 2010. Effect of calcium nitrate and boric acid sprays on fruit set, yield and fruit quality of cv. Amhat date palm. Journal of Agricultural Sciences. 8(5): 506-515.

Srilatha, V. and K.S. Kumar. 2019. Effect of foliar application of fertilizers on flowering and yield of muskmelon (Cucumis melo) CV. Madhuras. The Pharma Innovation Journal. 8(3): 524-526.

Xuan, H., J. Streif, A.A. Saquet and F. Bangerth. 2003. Boron application affects respiration and energy status of ‘conference’ pears during CA-storage. Acta Hort. (ISHS). 628: 167-174.

Yildirim, E., L. Guvenc, M. Turan and A. Karatas. 2007. Effect of foliar urea application on quality Growth mineral uptake and yield of broccoli (Brassica oleracea L.) var. PlantSoil and Environment. 53: 120-128.