ปัจจัยการตัดแต่งกิ่งที่มีผลต่อการออกดอกและคุณภาพผลของมะเกี๋ยง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบการตัดแต่งกิ่งมะเกี๋ยง 4 รูปทรง ได้แก่ ทรงชุดควบคุมไม่ตัดแต่ง (T1) ทรงเปิดกลาง (T2) ทรงสี่เหลี่ยม (T3) และ ทรงฝาชีหงาย (T4) ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญ การออกดอก และคุณภาพผลของมะเกี๋ยง ใช้แปลงปลูกระยะ 4x4 เมตร อายุ 8-9 ปี วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ RCBD มี 4 กรรมวิธี ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 4 ตัวอย่าง ต้นที่ใช้ศึกษายังไม่เคยได้รับการตัดแต่งกิ่งและให้ผลผลิตมาก่อน ใช้แปลงในระบบอินทรีย์ ผลการทดลอง พบว่า มีการแตกตาใหม่ของต้นในกรรมวิธี T2 T3 T4 ระหว่าง 27.72-37.25 ตาต่อกิ่ง ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม T1 เท่ากับ 6.23 ตาต่อกิ่ง จำนวนช่อดอกและจำนวนช่อดอกย่อย ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกรรมวิธี ข้อมูลผลผลิตเชิงปริมาณ พบว่า กรรมวิธี T1 มีน้ำหนักต่อผล มากที่สุด สำหรับ ความยาวผล, ความกว้างผล, ความหนาเนื้อ, เส้นผ่านศูนย์กลางเมล็ด, ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้ทั้งหมด (Total soluble solids, TSS) ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ (TA) และอัตราส่วน TSS:TA ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างรูปทรงการตัดแต่งกิ่ง ในด้านสีเปลือกของผลระหว่างการเจริญเติบโต พบว่า สีผลที่ 24 สัปดาห์ ให้ค่าสีเปลือกผลเป็น dark purplish grey มากที่สุด ใน 26 สัปดาห์ ค่าสีเปลือกผลเปลี่ยนเป็น dark red จนกระทั่งใน 28 สัปดาห์ ค่าสีเปลือกผลเป็น dark red ทุกกรรมวิธี ในส่วนของการจัดรูปทรงพุ่ม (ปัจจัย A) และระยะเวลาของการติดผล (ปัจจัย B) ไม่ส่งผลกระทบและไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กวิศร์ วานิชกุล. 2546. การจัดทรงต้นและการตัดแต่งไม้ผล. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จิรนันท์ เสนานาญ. 2551. การตอบสนองของลำไยพันธุ์อีดอต่อการจัดการทรงต้นและการจัดการปุ๋ย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ทนงศักดิ์ มณีวรรณ. 2544. มะเกี๋ยง พืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช. ศิลป์การพิมพ์ลำปาง, ลำปาง.
นพพร บุญปลอด. 2559. การจัดการการเขตกรรมและการพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะเกี๋ยง. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นัยวิทย์ เฉลิมนนท์. 2538. การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตและการใช้สีแดงธรรมชาติจาก กลีบกระเจี๊ยบแดง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน.
พรชัย จุฑามาศ ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ทนงศักดิ์ มณีวรรณ และวินัย แสงแก้ว. 2558. ประวัติความเป็นมาการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชมะเกี๋ยง. น. 10-20. ใน :ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ (บก.). มะเกี๋ยง พืชอนุรักษ์ อพ.สธ. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
วาสนา พิทักษ์พล วชิราภรณ์ ตรีริยะ ปวีณพล คุณารูป และสมสุดา วรพันธุ์. 2563. ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อการออกดอกและคุณภาพของผลมะเกี๋ยง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 51(พิเศษ 1): 243-248.
วิภารัตน์ เทพแก้ว และทนงศักดิ์ มณีวรรณ. 2558. ชีววิทยาของพืชมะเกี๋ยง. น. 22-24. ใน :ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ (บก.). มะเกี๋ยง พืชอนุรักษ์ อพ.สธ. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
สันติ ช่างเจราจา ชิติ ศรีตนทิพย์ พันธโชติ สัญชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ และอภินันท์ เมฆบังวัน. 2550. ผลของการตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงต้นที่มีการเจริญเติบโตของมะเกี๋ยง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
อนุชา จันทรบูรณ์. 2561. การทำสวนไม้ผล. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
อภินันท์ เมฆบังวัน สันติ ช่างเจรจา ชิติ ศรีตนทิพย์ และสุเทพ ทองมา. 2549. การพัฒนาคุณภาพของผลโดยใช้ปุ๋ยโพแทสเชียม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
Charoensin, S., S. Taya, A. Chailungka, P. Meepowpan and R. Wongpoomchai. 2012. Assessment of genotxicity and antigenotoxicity of an aqueous extract of Cleistocalyx nervosum var. paniala in in vitro and in vivo models. Interdisplinary Toxicology 5(4): 201-206.
Taya, S., C. Punvittayagul, W. Inboot, S. Fukushima and R. Wongpoomchai. 2014. Cleistocalyx nervosum extract ameliorates chemical-induced oxidative stress in early stages of rat hepatocarcinogenesis. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention 15(6): 2825-2830.
Torso-Verlag. 2015. RHS Colour Chart for Plants and Flowers. 6th Edition. Torso-Verlag e.K., Germany.
Watada, A.E. and J.A. Abbott. 1975. Objective method of estimating anthocyanin content for determining color grade of grapes. Journal of Food Science 40: 1278-1279.