ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

Johnny Louangphan
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา
กอบลาภ อารีศรีสม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมถึง 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
     ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรสองในสาม (68.13%) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 45.55 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่ง (53.12%) มีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 3.16 ไร่ รายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 218,775 บาทต่อปี ประสบการณ์ปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 6.91 ปี ได้รับข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.97 ครั้งต่อเดือน อบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.68 ครั้งต่อปี ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=15.24) ในขณะที่มีทัศนคติต่อมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.21) และการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.20) โดยพบ 5 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร (Sig<.05) ได้แก่ พื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ การรับรู้ข่าวสารด้านการเกษตร การเข้าร่วมอบรมหรือดูงานด้านการเกษตร ความรู้ และทัศนคติของเกษตรกรต่อมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปัญหาที่เกษตรกรพบมาก ได้แก่ การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ขาดปัจจัยการผลิต และการตลาด เกษตรกรจึงมีข้อเสนอแนะต่อทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การสนับสนุนทุน เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงการจัดสรรตลาดที่มั่นคง เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชผักตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกานต์ วงค์ษา. 2564. การปฏิบัติในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

กมล เลิศรัตน์ อรสา ดิสถาพร สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร และวีระ ภาคอุทัย. 2544. รายงานการประมวลความรู้เรื่องผักในประเทศไทย : สถานภาพของการผลิต การตลาด และการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

กรมปลูกฝัง. 2559. แผนดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ปี ค.ศ. 2568 วิสัยทัศน์ถึงปี ค.ศ. 2573. กระทรวงกะสิกำและป่าไม้, นครหลวงเวียงจันทน์.

กังสดาล กนกหงษ์ นฤเบศร์ รัตนวัน และปภพ จี้รัตน์. 2561. การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(1): 75-84.

เจริญ ดาวเรือง ชวสรรค์ เครือคํา พหล ศักดิ์คะทัศน์ และนคเรศ รังควัต. 2559. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ในอำเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป ลาว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 11(2): 55-66.

นราศิณี แก้วไหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และประทานทิพย์ กระมล. 2560 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387-395.

ปภพ จี้รัตน์ พุฒิสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสายสกุล ฟองมูล. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(1): 55-67.

แขนงปลูกฝัง. 2563. บทสรุปการจัดตั้งปฏิบัติของคณะบริหารงานกลุ่มกสิกรรมอินทรีย์นครหลวงเวียงจันทน์ ชุดที่ 4 ปี ค.ศ. 2019-2020. แผนกกสิกรรมและป่าไม้, นครหลวงเวียงจันทน์.

พุฒิสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์กะทัศน์ นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และปภพ จี้รัตน์. 2562. การยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรชนเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(1): 135-143.

ศานิต ปิ่นทอง นิรันดร์ ยิ่งยวด และนิรันดร์ ยิ่งยวด. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 12(1): 192-211.

สรธน ธิติสุทธิ และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(3): 86-95.

สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. 2558. “เกษตรอินทรีย์” โอกาสการส่งออกของเกษตรกรไทยในตลาดโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 18(9): 83-91.

Inta Chanthavong พุฒิสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และนคเรศ รังควัต. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรอำเภอจำพอน จังหวัดสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(2): 106-117.

Thong Sengmany. 2564. การปฏิบัติการปลูกกาแฟในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Bourn, D. and J. Prescott. 2002. A comparison of the nutritional value, sensory qualities, and food safety of organically and conventionally produced foods. Critical reviews in food science and nutrition 42(1): 1-34.

Department of Agriculture. 2005. Decision of the Minister of Agriculture and Forestry on organic agriculture standards. Ministry of Agriculture and Forestry, Vientiane.

Likert, R. 1961. New Patterns of management. McGraw-Hill Book Company, New York.

Pachauri, R.K., M.R. Allen, V.R. Barros, J. Broome, W. Cramer, R. Christ and J.P. van Ypserle. 2014. Climate change 2014: synthesis report. Contribution of Working Groups I, II and III to the fifth assessment report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. Ipcc.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. Harper and Row, New York.