ผลของปุ๋ยยูเรียเคลือบด้วยสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ยูรีเอส (NBPT) ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตข้าว

Main Article Content

เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์
สาวิกา กอนแสง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเพื่อศึกษาผลของปุ๋ยยูเรียที่เคลือบด้วยสาร N-(n-butyl)-thiophosphoric triamide (NBPT) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย7 กรรมวิธี ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปยูเรียที่ไม่เคลือบและด้วย NBPT ในอัตรา 60, 90 และ 120 กิโลกรัม N/เฮกตาร์ จากผลการทดลองไม่พบความแตกต่างด้านการเจริญเติบโตระหว่างปุ๋ยที่เคลือบ NBPT และไม่เคลือบ โดยน้ำหนักแห้งทั้งต้น ความสูง จำนวนหน่อต่อกอ ค่า SPAD และปริมาณไนโตรเจนในใบอ่อนที่แผ่ขยายเต็มที่ และใบธง เพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นในทั้งสองระยะการเจริญเติบโต ยกเว้นความสูงในระยะดอกบานที่ไม่พบความแตกต่างกันตามระดับไนโตรเจนที่ได้รับสำหรับผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต พบว่าการใส่ปุ๋ยยูเรียที่เคลือบด้วย NBPT อัตรา120 กิโลกรัม N/เฮกตาร์ ให้ผลผลิตเมล็ด จำนวนหน่อ และจำนวนรวงต่อกอเพิ่มขึ้นสูงสุด ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการจัดการปุ๋ยยูเรียในนาข้าวให้เพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านผลผลิต และลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ ปูระณะพงษ์. 2548. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ความต้องการธาตุอาหารของข้าว. น. 218-345. ใน: ยงยุทธ โอสถสภา (บ.ก.). ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว. สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

Cantarella, H., R. Otto, J.R. Soares and A.G.B. Silva. 2018. Agronomic efficiency of NBPT as a urease inhibitor: A review. J. Adv. Res. 13: 19-27.

Dillon, K.A., T.W. Walker, D.L. Harrell, L.J. Krutz, J.J. Varco, C.H. Koger and M.S. Cox. 2012. Nitrogen sources and timing effects on nitrogen loss and uptake in delayed flood rice. Agron. J. 104(2): 466-472.

Dobermann, A. and T. Fairhurst. 2000. Rice: Nutrient Disorders and Nutrient Management. Oxford Graphic Printers, Singapore.

Esfahani, M., H.R.A. Abbasi, B. Rabiei and M. Kavousi. 2008. Improvement of nitrogen management in rice paddy fields using chlorophyll meter (SPAD). Paddy Water Environ. 6(2): 181-188.

Khan, M.J., A. Malik, M. Zaman, Q. Khan, H. ur Rehman and Kalimullah. 2014. Nitrogen use efficiency and yield of maize crop as affected by Agrotain coated urea in arid calcareous soils. Plant Soil Environ. 33 (1): 1-6.

Linquist, B.A., L. Liu, C. van Kessel and K.J. van Groenigen. 2013. Enhanced efficiency nitrogen fertilizers for rice systems: Metaanalysis of yield and nitrogen uptake. Field Crops Res. 154: 246-254.

Marschner, P. 2012. Marschner’s Mineral Nutrition of Higher Plants. 3rd ed. Academic Press, San Diego.

Meng, X., Y. Li, H. Yao, J. Wang, F. Dai, Y. Wu and S. Chapman. 2020. Nitrification and urease inhibitors improve rice nitrogen uptake and prevent denitrification in alkaline paddy soil. Appl. Soil Ecol. 154: 103665, doi: 10.1016/j.apsoil.2020.103665.

Ray, A., C. Nkwonta, P. Forrestal, M. Danaher, K. Richards, T. O’Callaghan, S. Hogan and E. Cummins. 2021. Current knowledge on urease and nitrification inhibitors technology and their safety. Rev. Environ. Health 36(4): 477-491.

Silva, A.G.B., C.H. Sequeira, R.A. Sermarini and R. Otto. 2017. Urease Inhibitor NBPT on ammonia volatilization and crop productivity: A meta-analysis. Agron. J. 109(1): 1-13.

Yamano, T., A. Arouna, R.A. Labarta, Z.M. Huelgas and S. Mohanty. 2016. Adoption and impacts of international rice research technologies. Glob. Food Sec. 8: 1-8.