กลยุทธ์การส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา”

Main Article Content

นริสรา กาวิวงศ์
วาสนา พิทักษ์พล
วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก
มนัส ทิตย์วรรณ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษากลยุทธ์การส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” เก็บรวบรวมข้อมูล พ.ศ. 2564-2565 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปลูกลิ้นจี่กลุ่มแปลงใหญ่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 155 ราย ซึ่งได้จากการคำนวณด้วยใช้สูตร Taro Yamane ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลากตามสัดส่วน และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ T-test ตลอดจนการวิเคราะห์ SWOT และใช้วิธี TOW Matrix เพื่อสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ปลูกลิ้นจี่ ร้อยละ 50.3 ไม่เคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” ร้อยละ 44.5 มีการได้ยินหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” จากการอบรม/หน่วยงานราชการ และร้อยละ 66.5 ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการผลิตผลสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” 2) ผู้ปลูกลิ้นจี่ มีระดับความรู้ หลังการเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบการควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (gif.latex?\bar{x}=13.69) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วม (gif.latex?\bar{x}=9.97) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.05) 3) ผู้ปลูกลิ้นจี่ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวน 16 ราย ผ่านการประเมินคุณภาพผลผลิตลิ้นจี่ตามข้อกำหนดสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหากลยุทธ์ในการส่งเสริมการผลิตสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” โดยการวิเคราะห์ SWOT Analysis และใช้ TOWS Matrix สรุปได้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก คือ พัฒนาและสร้างจุดเด่นให้สินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ ส่งเสริมผู้ปลูกลิ้นจี่รวมกลุ่มผลิตปัจจัยการผลิตใช้เอง กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปลูกลิ้นจี่มีความรู้ในกระบวนการผลิตลิ้นจี่ใหมี้คุณภาพตามมาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” และกลยุทธ์เชิงรับ คือ การศึกษาความต้องการผู้บริโภคเพื่อให้ทราบทิศทางของตลาดและแนวโน้มความต้องการสินค้า GI

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2557. สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลิ้นจี่นครพนม. แหล่งข้อมูล https://www.ipthailand.go.th/images/781/56100101_no.pdf (29 กันยายน 2565).

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2560. ทิศทางสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2560. กระทรวงพาณิชย์, นนทบุรี.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2562. การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา. แหล่งข้อมูล http://new.research.doae.go.th/GI/uploads/documents.pdf (20 มิถุนายน 2565).

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2565. สินค้า GI ในแต่ละภูมิภาค. แหล่งข้อมูล https://www.ipthailand.go.th/th/gi002.html (15 กันยายน 2565).

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. 2562. สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI THAILAND). พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัท ออนป้า จำกัด, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2564. เทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่คุณภาพในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท อาร์ พี พี ออล จำกัด, เชียงใหม่.

กันยา สุวรรณแสง. 2552. พฤติกรรมและสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2547. ความรู้เบื้องต้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. แหล่งข้อมูล http://www.ipthailand.go.th/th/faq/item.html (20 มิถุนายน 2565).

ธิดาภรณ์ ละม้ายศรี. 2561. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการ โรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิทยา สรวมศิริ สมบัติ ศรีชูวงศ ์ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร ดยุติวุฒิกุล พรชัย เหลืองอาภาพงษ์ อำพรรณ พรมศิริ อัสนา อครพิศาล ชวนพิศ บุญชิตสิริกุล เกวลิน คุณาศักดากุล ดรุณี นาพรม ฉันทรี จารุปาณฑุ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง ธนะชัย พันธุ์เกษมสุข อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง ชูชาติ สันธทรัพย์ กรวรรณ ศรีงาม และกานต์ คงบรรทัด. 2550. รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้านการตลาดสินค้าลิ้นจี่ ระยะที่ 2 เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พรพินันท์ ยี่รงค์. 2559. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับโอกาสทางการค้าของสินค้าท้องถิ่นเชียงราย. แหล่งข้อมูล http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=520 (19 สิงหาคม 2565).

มหาวิทยาลัยพะเยา. 2563. คู่มือระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยสินค้า “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” ทะเบียนเลขที่ สช 62100120. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา. 2563. สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา. แหล่งข้อมูล https://region3.prd.go.th/region3_ci/prphayao/news/19973 (18 สิงหาคม 2565).

สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ใจ. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอแม่ใจ ปี 2561-2565. สำนักงานเกษตรอำเภอ แม่ใจ, พะเยา.

Cardoso, V.A., A.E.B.S. Lourenzani, M.M. Caldas, C.H.C. Bernardo and R. Bernardo. 2022. The benefits and barriers of geographical indications to producers: A review. J. Renew. Agric. Food Syst. 37(6): 707-719.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. Harper and Row Publications, New York.