ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ชญานิษฐ์ แสนราชา
พุฒิสรรค์ เครือคำ
นคเรศ รังควัต
กังสดาล กนกหงษ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิก กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 256 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 4.07) ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือ ด้านการประเมินผล รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผน และการจัดการ ด้านการผลิตและด้านการตลาด และด้านการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ โดยปัจจัย ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้รวมในครัวเรือน ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำแหน่งทางสังคม และหนี้สิน ในครัวเรือน สำหรับปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน ได้แก่ 1) ไม่มีการวางแผนและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 2) สมาชิกไม่มีความรู้ด้านการตลาด ทำให้จำหน่ายผลผลิตได้จำนวนน้อย 3) การไม่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของเงินรายได้ และ 4) การประเมินผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรจัด ประชุมกลุ่มอย่างสมํ่าเสมอทุก ๆ เดือน เพื่อติดตามผลการทำงานและวางแผนอย่างต่อเนื่องทีละขั้นตอน และชี้แจงความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของกลุ่มอย่างสมํ่าเสมอ 2) เพิ่มตลาดจำหน่ายสินค้านอกพื้นที่ ตลาดออนไลน์ หรือร่วมโครงการจำหน่ายสินค้ากับไปรษณีย์ และ 3) ควรตกลงรายละเอียดของการจัดสรร ผลประโยชน์ให้ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. 2556. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. 2559. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จกรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึมตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. Veridian E-Journal. 9(3): 1632-1645.

สัจจา บรรจงศิริ และบุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง. 2551. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. 2562. วิสาหกิจชุมชน ในอำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน. แหล่งข้อมูล http://pasang.lamphun.doae.go.th/ (10 มีนาคม 2563).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). แหล่งข้อมูล https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue (2 ตุลาคม 2563).

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2554. แนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. แหล่งข้อมูล http://www.sceb.doae.go.th/index_n2.html (8 เมษายน 2563).

สุเทพ พันประสิทธิ์. 2558. การศึกษาการขยายผลทางเศรษฐกิจของชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์ 29(92): 304-321.

สุพัตรา รักการศิลป์ ปยาภรณ์ ศิริภานุมาศ และสาธิต ผลเจริญ. 2557. บทบาทของผู้นำที่มีต่อกระบวนการจัดการความรู้วิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการ สินค้า ประเภทหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับดาว จังหวัดบุรีรัมย์: ถอดบทเรียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 8(3): 139-152.

เสรี พงศ์พิศ วิชิต นันทสุวรรณ และจำนงค์ แรกพินิจ. 2544. วิสาหกิจชุมชน: แผนแม่บท แนวคิด แนวทาง ตัวอย่างร่างพระราชบัญญัติ. เจริญวิทย์การพิมพ์: กรุงเทพฯ.

อัจฉรา เมฆสุวรรณ และบุญฑวรรณ วิงวอน. 2558. บทบาทของภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บบ้านแม่ฮาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 21(3): 20-31.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publications.