ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ระบบควบคุมภายในตามการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสมแบบกลุ่มของเกษตรกร ที่ได้รับการส่งเสริมโดยบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

Main Article Content

จิตประภัสร์ คำมะนิด
นิวัฒน์ ขันโท
ไตรเทพ เจริญพานิชสันติ
ปัณฑริกา ชุ่มวงค์
นัฏฐพันธ์ โปงกันทา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร รวมถึงเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ระบบควบคุมภายในตามการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสมแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เกษตรกรของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จำนวน 188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าตํ่าสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.72) อายุเฉลี่ย 49.28 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 73.94 มีประสบการณ์ปลูกเฉลี่ย 8.21 ปี ขนาดพื้นที่ปลูก 2.08 ไร่ จำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.14 คน รายได้สุทธิเฉลี่ย 49,326.11 บาทต่อปี รายจ่ายสารเคมีเกษตร เฉลี่ย 1,647.42 บาทต่อปี และส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีตำแหน่งสถานภาพทางสังคม (ร้อยละ 80.85) มีความถี่ ในการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรเฉลี่ย 5 ครั้งต่อปี และเข้ารับอบรมเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่เกษตรกรมีคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (17.24±1.49) และการรับรู้เรื่องระบบควบคุมภายในแบบกลุ่มมีค่าเฉลี่ยระดับรับรู้มาก (1.88±0.12) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ระบบควบคุมภายในตามการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสมแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (P<0.01) ระดับการศึกษา (P<0.05) ประสบการณ์การปลูก (P<0.01) และความรู้เรื่องการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสม (P<0.01) สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ระบบควบคุมภายในตามการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสม แบบกลุ่มเชิงบวก (P<0.01) ได้แก่ อายุ (B=0.058) และความรู้เรื่องการปฏิบัติเกษตรที่ดีเหมาะสม (B=0.834)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา ศรีลัย. 2549. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกส้มเขียวหวานในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล คำดี บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล รุจ ศิริสัญลักษณ์ และพรสิริ สืบพงษ์สังข์. 2565. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีคุณภาพ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 38(2): 101-108.

นำชัย ทนุผล. 2531. วิธีการเตรียมโครงการวิจัย. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่.

พรธิรัฐฐ์ พจนสุนทร. 2554. ความต้องการความรู้ในการเลือกและการใช้สารเคมีเกษตร ของเกษตรกรผู้ปลูกส้ม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 28(3): 39-46.

มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9001. 2556. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร GOOD AGRICULTURAL PRACTICES FOR FOOD CROP. แหล่งข้อมูล https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_food%20crop.pdf/ (3 ตุลาคม 2565).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.

เอกราช บุญล้อมรักษ์. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกกาแฟในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cronbach, L. J. 1970. Essentials of Psychological Testing. 3rd Editon. Harper & Row Publisher, New York.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Editon. Harper & Row Publisher, New York.