ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล <I>Diospyros</I> ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี

Main Article Content

แพรวพรรณ เกษมุล
จรัสศรี นวลศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมพืชสกุล Diospyros จากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง และสงขลา จำนวน 16 ชนิด (species) 94 ต้น และไม่ทราบชนิดอีก 2 ต้น รวมทั้งสิ้น 96 ต้น ตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้น ร่วมกับการใช้เทคนิคอาร์เอพีดี จากการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา พบความแตกต่างของลักษณะใบ ที่สามารถแยกความแตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจน จากนั้นทำการทดสอบด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี เบื้องต้นใช้ไพรเมอร์จำนวน 60 ไพรเมอร์ คัดเลือกเพียง 8 ไพรเมอร์ เพื่อศึกษาความแปรปรวนของตัวอย่างพืชที่เก็บมาทั้งหมด  พบแถบดีเอ็นเอทั้งสิ้น 168 แถบ เป็นแถบที่ให้ความแตกต่างจำนวน 167 แถบ (99.40%) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ และความใกล้ชิดทางพันธุกรรมโดยใช้วิธี UPGMA จากโปรแกรม NTSYS (Version 2.1) ทั้ง 96 ตัวอย่างมีค่าดัชนีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมอยู่ระหว่าง 0.404-0.994 เฉลี่ยเท่ากับ 0.580 สามารถแบ่งกลุ่มพืชที่ศึกษาได้เป็น 4 กลุ่ม แยกตามชนิดค่อนข้างชัดเจน และพบว่าใน 16 ชนิดของพืชสกุล Diospyros ที่ศึกษาครั้งนี้ D. areolata และ D. philippensis มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด ในขณะที่ D. diepenhorstii และ D. wallichii  มีความห่างไกลทางพันธุกรรมสูงที่สุด  ตัวอย่างที่ไม่ทราบชนิดอีก 2 ต้น (unknown) มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ D. decandra มากกว่าชนิดอื่น เมื่อพิจารณาภายในกลุ่มพืชชนิดเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ ไทยพงศ์. 2545. การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพลับในประเทศไทยด้วยเครื่องหมาย RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA). ปัญหาพิเศษปริญญาโท ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 45 หน้า.

เฉลิมพล ภูมิไชย์. 2539. การจำแนกสายพันธุ์พลับในประเทศไทยโดยอาศัยเทคนิค RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 85 หน้า.

ประพิมพ์พักตร์. 2552. การวิจัยทางโภชนาการที่มีประโยชน์ในผลของพืชสกุลพลับ. วารสารแก่นเกษตร ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 (15 กันยายน 2552) หน้า 281-292.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2542. ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. กรุงเทพฯ : องค์การสวนพฤกษศาสตร์.

Doyle, J. J. and Doyle, J. L. 1990. Isolation of plant DNA from fresh tissue. Focus 12: 13-15.

Duangjai, S., Wallnofer, B., Samulel, R., Munzinger, J. and Chase, MW. 2006. Generic Delimitation and Relationships in Ebenaceae Sensu Lato: Evidence from six Plastid DNA Regions. American Journal of Botany 93(12): 1808-1827.

Jaccard, P. 1908. Nouvellers recherches sur la distribution florale. Bulletin de la Societe Vaudoise des Science Naturelles 44: 223-270.

Rohlf, F. J. 2002. NISYS-pc. Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System, Version-2.1. New York: Applied Biostatistics.

The International Plant Names Index (IPNI). 2009. The International Plant Names Index Plant Name Query. (Online) Available: http://www.ipni.org/ipni/plantname-searchpage.do. (November 6, 2009).

Utsunomiya, N., Subhadrabandhu, S., Yonemori, K., Oshida, M., Kanzaki, S., Nakatsubo, F. and Sugiura, A. R. 1998. Dispyroa species in Thailand: Their distribution, fruit morphology and uses. Economic Botany 52: 343-351.

Wen-bin, X., Qiao-sheng, G. and Chang-lin, W. 2006. RAPD analysis for genetic diversity of Chrysanthemum morifolium. China Journal of Chinese Material Medica (Abstract).

Williams, J. G. K., Kubelik, R. A., Livak, J. K., Rafalski, A. J. and Tingry, V. S. 1990. DNA polymorphisms amplified by arbitrary primers are useful as genetic markers. Nucl Acids. Res. 18: 6531-6535.

Yamagishi, M., Matsumoto, S., Nakatsuka, A. and Itamura, H. 2005. Identification of persimmon (Diospyros kaki) cultivars and genetic relationships between Diospyros species by more effective RAPD analysis. Scientia Horticulturae 105: 283-290.