ผลของสารโคลชิซินต่ออัตราการรอดชีวิต ลักษณะทางสรีรวิทยา และสัณฐานวิทยาของหน้าวัวพันธุ์ Micky Mouse

Main Article Content

อัญญาณี จันทร์ภักดี
สมปอง เตชะโต

บทคัดย่อ

การชักนำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมในหน้าวัวพันธุ์ Micky Mouse โดยการใช้ nodular callus จุ่มแช่ในสารละลายโคลชิซินความเข้มข้น 0, 0.05, 0.1, 0.15 และ 0.2% เป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง จากการศึกษา พบว่า อัตราการรอดชีวิตของแคลลัสหลังย้ายเลี้ยงเป็นเวลา 21 วัน ลดลงตามความเข้มข้นของสารละลายโคลชิซินที่สูงขึ้น โดยที่ความเข้มข้นโคลชิซิน 0.1% ให้อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) การจุ่มแช่โคลชิซินเป็นเวลา 72 ชั่วโมง  ให้อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยต่ำสุด 45.95%  แตกต่างทางถิติ (P<0.01) กับอีก 2 เวลาที่ทดสอบต้นหน้าวัวที่ชักนำได้จากแคลลัสที่ผ่านการจุ่มแช่โคลชิซินมาตรวจสอบขนาดและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์ภายในปากใบ พบว่า ค่าเฉลี่ยของขนาดปากใบและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นและระยะเวลาในการจุ่มแช่โคลชิซินที่สูงขึ้น โดยที่โคลชิซินเข้มข้น 0.2% จุ่มแช่นาน 72 ชั่วโมงมีขนาดและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์เฉลี่ยสูงสุดคือ กว้าง 1.92 ไมโครเมตร  ยาว 1.91 ไมโครเมตร และ 39.06 เม็ดต่อปากใบ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับปากใบ เช่น ปากใบมีรูปร่างผิดปกติ  เม็ดคลอโรพลาสต์ภายในปากใบผิดปกติ และไม่เกิดการสร้างเม็ดคลอโรพลาสต์ขึ้นในปากใบ เป็นต้น  และเมื่อทำการตรวจสอบขนาดใบ พบว่าความยาวและความกว้างของใบเฉลี่ยจากโคลชิซินทุกความเข้มข้นและทุกระยะเวลาการจุ่มแช่ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบลักษณะการด่างของใบ 3 ลักษณะคือ ด่างบางส่วนของใบ ด่างบริเวณขอบใบ และ ด่างบางส่วนผสมกับด่างบริเวณขอบใบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิตย์ศรี แสงเดือน และ อำไพ สินพัฒนานนท์. 2541. การชักนำให้เกิดหม่อนเททราพลอยด์โดยใช้โคลชิซินร่วมกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.) 32: 424-430.

วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2548. คู่มือคนรักต้นไม้: หน้าวัว. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 94 หน้า.

วัชรินทร์ รัตนพันธ์. 2544. การเพิ่มจำนวนโครโมโซมของขมิ้นชันและขมิ้นอ้อยด้วยโคลชิซินในสภาพ ปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 62 หน้า.

วิชชุตา รุ่งเรือง. 2537. ผลของโคลชิซินและรังสีแกมมา ที่มีต่อการกลายพันธุ์ของหน้าวัวพันธุ์ Double Spathe ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 76 หน้า.

สมโชค รักษารัก. 2545. การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์และการขยายพันธุ์อัญชันในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 122 หน้า.

Gao, S.L., D.N. Zhu, Z.H. Cai and D.R. Xu. 1996. Autotetraploid plants from colchicines-treated bud culture of Salvia miltiorrhiza Bge. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 47: 73-77.

Gu, X.F., A.F. Yang, H. Meng, and J.R. Zhang. 2005. In vitro induction of tetraploid plants from diploid Zizyphus jujuba Mill. cv. Zhanhua. Plant Cell Rep. 24: 671-676.

Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassay with tobacco tissue culture. Physiol. Plant. 15: 473-497.

Pinheiro, A.A., M.T. Pozzobon, C.B. do Valle, M.I.O. Penteado, and V.T.C. Carneiro. 2000. Duplication of the chromosome number of diploid Brachiaria brizantha plants using colchicine. Plant Cell Rep. 19: 274-278.

Rose, J.B., J. Kubba and K.R. Tobutt, 2000. Induction of tetraploidy in Buddleia globosa. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 63: 121-125.

Sari, N., K. Abak and M. Pitrat. 1999. Comparison of ploidy level screening methods in watermelon: Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum and Nakai. Scientia Horticulturae 82: 265-277.

Thao, N.T.P., K. Ureshino, I. Miyajima, Y. Ozaki, and H. Okubo. 2003. Induction of tetraploids in ornamental Alocasia throught colchicine and oryzalin treatments. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 72: 19-25.

Wu, J.H. and P. Mooney. 2002. Autotetraploid tangor plant regeneration from in vitro Citrus somatic embryogenic callus treated with colchicine. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 70: 99-104.

Zhang, Z.H., H.Y. Dai, M. Xiao, and X. Liu. 2008. In vitro induction of tetraploids in Phlox subulata L. Euphytica 159: 59-65.