ผลของฤดูกาลต่อความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ ในรากกล้วยไม้สกุลว่านจูงนาง

Main Article Content

จักรพงศ์ จันทวงศ์
ณัฐา โพธาภรณ์
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ในรากกล้วยไม้ดินสกุลว่านจูงนางที่พบในป่าเต็งรัง ในฤดูร้อน (hot dry season) ฤดูฝน (rainy season) และฤดูหนาว (cold dry season) บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของดินในฤดูฝนเป็น 24.03C และฤดูร้อนเป็น 24.17C แตกต่างกับฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิดินเท่ากับ 17.96C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของดินในฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อนเป็น 17.83, 3.30  และ 14.28% ตามลำดับ  และค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของดินในฤดูหนาวแตกต่างจากฤดูฝนและฤดูร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ พบราทั้งหมด 13 สกุล จากจำนวน 198 ไอโซเลต โดยราที่พบส่วนใหญ่เป็นสกุล Trichoderma และ Fusarium ส่วนสกุลของราที่พบน้อยที่สุดคือ Aspergillus, Colletotrichum, Eupenicillium และ Helicoma โดยในแต่ละฤดูกาลมีสกุลของราที่พบแตกต่างกันไป  จากการคำนวณค่า Isolation rate , Colonization rate (%) และดัชนีชี้วัดความหลากหลายของแชนนอนและวีเนอร์ (Shannon–Wiener Index) พบว่าฤดูฝนให้ค่าทั้งหมดสูงที่สุด คือ 1.84, 87.50 และ 2.09 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบดัชนีความคล้ายคลึงกันของชนิด (similarity index) พบว่าชนิดของราในฤดูร้อนและฤดูหนาว มีความคล้ายคลึงกันมากกว่าในฤดูฝน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางกายภาพที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาลต่าง ๆ มีผลต่อชนิดและความหลากหลายของราเอนโดไฟท์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิจัย รักวิทยาศาสตร์. 2551. ราวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, นครปฐม. 351 หน้า.

สุกัญญา แสงทอง. 2545. ผลของราเอนโดไมคอร์ไรซาต่อการเจริญของเอื้องแซะและลูกผสม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 153 หน้า.

สลิล สิทธิสัจธรรม และ นฤมล กฤษณชาญดี. 2545. คู่มือ-กล้วยไม้. สำนักพิมพ์สารคดี, กรุงเทพฯ. 248 หน้า.

สวนพฤกษศาสตรส์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์. 2543. กล้วยไม้ไทย เล่ม 6. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 292 หน้า.

สายสมร ลำยอง เนาวรัตน์ ชีพธรรม และพิภพ ลำยอง. 2547. ฟังไจที่เจริญในต้นพืชป่าไม้ล้มลุก ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ปุย จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 63-81 ใน: รายงานการวิจัยโครงการ BRT. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 376 หน้า.

อำพรรณ พรมศิริ. 2547. ปฏิบัติการวิชาจุลชีววิทยาทางดิน. เอกสารประกอบการเรียนการสอน ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 69 หน้า.

Arnold, A.E., Z. Maynard, G.S. Gilbert, P.D. Coley and T.A. Kursar. 2000. Are tropical fungal endophytes hyperdiverse?. Ecology Letters 3: 267-274.

Bacon, C. W. and J. F. White, Jr. 2000. Microbial Endophytes. Marcel Dekker, Inc., New york. 487 pp.

Carmichael, J.W., W. Bryce Kendrick, I.L. Conners and L. Sigler. 1980. Genera of Hyphomycetes. Hignell Printing Ltd., Manitoba. 386 pp.

Ellis, M.B. 1971. Dematiaceous hyphomycetes. CAB International, Oxon. 608 pp.

Ellis, M.B. 1976. More dematiaceous hyphomycetes. CAB International, Oxon. 507 pp.

Hagn, A., K. Pritsch, M. Schloter and J.C. Munch. 2003. Fungal diversity in agricultural soil under different farming management systems, with special reference to biocontrol strains of Trichoderma spp. Biology and Fertility of Soils 38: 236-244.

Hijner, J. A. and J. Arditti. 1973. Orchid mycorrhiza : Vitamin production and requirements by the symbionts. Am. J. Bot. 60: 829 - 835.

Kodsueb, R., E.H.C. McKenzie, S. Lumyong and K.D. Hyde 2008. Diversity of saprobic fungi on Magnoliaceae. Fungal Diversity 30: 37-53.

Lacap, D.C., K.D. Hyde and E.C.Y. Liew. 2003. An evaluation of the fungal 'morphotype' concept based on ribosomal DNA sequences. Fungal Diversity 12: 53-66.

Maxwell, J.F. and S. Elliott. 2001. Vegetation and Vascular Flora of Doi Suthep-Pui National Park Chiang Mai Province, Northern Thailand, Thai Studies in Biodiversity 5: 21-54.

Nikolcheva, L.G. and F. Bärlocher. 2005. Seasonal and substrate preferences of fungi colonizing leaves in streams: traditional versus molecular evidence. Environ. Microbiol. 7: 270-280.

Petrini O., J. Stone and F.E. Carroll. 1982. Endophytic fungi in evergreen shrubs in western Oregon: a preliminary study. Can. J. Bot. 60: 789-796.

Pinnoi, A., S. Lumyong, K.D. Hyde and E.B.G. Jones. 2006. Biodiversity of fungi on the palm Eleiodoxa conferta in Sirindhorn peat swamp forest, Narathiwat, Thailand. Fungal Diversity 22: 205-218.

Smith, R.L. 1996. Ecology and Field Biology. 5th ed. Harper Collins College Publishers, New York. 720 pp.

Smith, R. L. and T. M. Smith. 2001. Ecology and Field Biology: Hands-on Field Package. 6th ed. Benjamin-Cummings Publishing Company, New York. 720 pp.

Suryanarayanan, T.S. and S. Thennarasan. 2004. Temporal variation in endophyte assemblages of Plumeria rubra leaves. Fungal Diversity 15: 197-204.

Sutton, B.C. 1971. The Coelomycetes: Fungal Imperfecti with pycnidia, acervuli and stromata. Commonwealth Mycological Institute, Surray. 696 pp.

Von Arx, J.A. 1981. The Genera of Fungi Sporulating in Pure Culture. A.R. Gantner Verlag, Kommanditgesellschaft. 424 pp.