ผลของน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ ในการฆ่าไรแดงแอฟริกัน

Main Article Content

จรงค์ศักดิ์ พุมนวน
วรเดช จันทรสร
อำมร อินทร์สังข์
พิฆเนศ รองพล

บทคัดย่อ

การทดสอบน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ (Piper nigrum Linn.) ที่แยกสกัดจากเปลือกและจากเนื้อ ต่อไรแดงแอฟริกัน (Eutetranychus africanus (Tucker)) ศัตรูส้ม โดยวิธีการสัมผัสและการฉีดพ่นโดยตรง การทดสอบวิธีการสัมผัสทดสอบที่ความเข้มข้น 0 (ethanol 95%), 1, 2, 3, 4 และ 5% และน้ำมันหอมระเหยส่วนผสมที่สกัดจากเปลือกกับส่วนที่สกัดจากเนื้อแต่ละความเข้มข้นในอัตราส่วน 9:1, 8:2 และ 7:3 ใช้ปริมาตร 15 μl เคลือบบนใบทองหลางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm จึงมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยเท่ากับ 0, 0.19, 0.38, 0.57, 0.76 และ 0.95 μl/cm2 ตามลำดับ ตรวจนับอัตราการรอด การตาย การไล่ และปริมาณการวางไข่ที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง และเปอร์เซ็นต์การฟักของไข่ทั้งหมด ส่วนการฉีดพ่นโดยตรงทดสอบที่ความเข้มข้น 0 (tween-20 5% ในน้ำ), 1, 2, 3, 4 และ 5% ด้วยเครื่อง Potter’s spray tower ปริมาตร 2 ml โดยใช้ความดัน 10 lbf/sq in ขนาดละออง 50-110 μm ตรวจนับอัตราการตายที่ 24 ชั่วโมง พบว่าเปอร์เซ็นต์การตายของไรแดงแอฟริกันที่เกิดจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำโดยวิธีการสัมผัสสูงกว่าที่สกัดจากเปลือก โดยที่ความเข้มข้น 5% (0.95 μl/cm2) มีอัตราการตาย 18 และ 12% ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ และ มีอัตราการตาย 66 และ 16% ที่ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเปลือกของพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการไล่สูงกว่าที่สกัดจากเนื้อ มีอัตราการไล่ 74.0 และ 4.0% ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ และมีอัตราการไล่ 74.0 และ 10.0% ที่ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบโดยวิธีการฉีดพ่นโดยตรง คือไรแดงแอฟริกันมีอัตราการตายจากการทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำ มีเปอร์เซ็นต์การตายสูงกว่าที่สกัดจากเปลือก โดยที่ 5% มีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ากับ 98.3 และ 93.3% ตามลำดับ และมีค่า LC50 เท่ากับ 2.06 และ 3.03% ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยส่วนที่สกัดจากเปลือกผสมกับส่วนที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำในอัตราส่วนต่างๆ ทุกความเข้มข้นมีผลต่ออัตราการตายของไรแดงแอฟริกันต่ำกว่าการทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อเพียงอย่างเดียว และน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการวางไข่และการฟักของไข่ คือที่ 5% (0.95 μl/cm2) มีปริมาณการวางไข่ 0.4 ฟองต่อตัว ที่ 24 ชั่วโมง มีอัตราการฟักทั้งหมด 32.4% ขณะที่กลุ่มควบคุมมีปริมาณการวางไข่ 5.6 ฟองต่อตัว ที่ 24 ชั่วโมง และมีอัตราการฟัก 70.6%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2544. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. 2544. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. บริษัทอมรรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพฯ. 777 หน้า.

เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ ณิศ กีร์ติบุตร และวัฒนา จารณศรี. 2545. ความต้านทานและกลไกความต้านทานต่อสารฆ่าไรบางชนิดของแดงแอฟริกัน Eutetranychus affricanus (Tucker). วารสารกีฏและสัตววิทยา 24(1): 2-16.

นันทวัน บุณยประภัศร. 2546. การพัฒนายากำจัดปลวกจากวัสดุเหลือใช้: พริกไทยเบา (Piper nigrum Linn.). หน้า 157-159. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพร. วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น, กรุงเทพฯ.

มานิตา คงชื่นสิน. 2551. ไรตัวห้ำ. หน้า 43-72. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาเทคโนโลยีการใช้ชีวินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตร. วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น, กรุงเทพฯ.

วัฒนา จารณศรี มานิตา คงชื่นสิน และเทวินทร์ กุลปิยวัฒน์. 2544. ไรศัตรูพืชและการป้องกันจัด. หน้า 1-70. ใน: เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร แมลง-สัตว์ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด ครั้งที่ 11. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ สานิตย์ สุขสวัสดิ์ และมณี ชิงดวง. 2548. วิจัยชนิดและปริมาณสาระสำคัญในพริกไทยพันธุ์ซาราวัค ที่อายุต่าง ๆ กัน. ผลงานวิจัยประจำปี 2548. สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ สานิตย์ สุขสวัสดิ์ อาภรณ์ เจียมสายใจ และมณี ชิงดวง. 2547. วิจัยชนิดและปริมาณสาระสำคัญในพริกไทยพันธุ์ต่าง ๆ จากแหล่งต่าง ๆ และอายุแตกต่างกัน. ผลงานวิจัยประจำปี 2547. สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

อำมร อินทร์สังข์. 2544. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดต่อไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus (Ehara)). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 19(3): 15-22.

Adgeh, B.J. 1989. Residual toxicity of three plant materials against three storage insect pests. M.Sc. Thesis. University of the Philippines, Los Banos, Philippines. 84 p.

Anonymous. 1984. The Merck Index, An Encyclopedia of Chemicals, Drugs and Biochemicals. 10th ed. Merck & Co. Inc., Rahway, N.J. 1077 pp.

Awoyinka, O.A., I.O. Oyewole, B.M.W. Amos and O.F. Onasoga. 2006. Comparative pesticidal activity of dichloromethane extracts of Piper nigrum against Sitophilus zeamais and Callosobruchus maculatus. African Journal of Biotechnology 5(24): 2446-2449.

Dev, S. and O. Koul. 1997. Insecticides of Natural Origin. Harwood Academic Publishers, Amsterdam. 365 pp.

Kulpiyawat, T. and A. Chandrapatya. 1989. Studies on biology, ecology and effect of some pesticides on the spider mite, Eutetranychus africanus (Tucker) (Acarina: Tetranychidae). pp. 15-20. In: Proceedings of the First Asia-Pacific Conference of Entomology, Chiang Mai, Thailand.

Scott, I.M., H. Jensen, R. Nicol, L. Lesage, R. Bradbury, P. Sanchez-Vindas, L. Poveda, J.T. Arnason and B.J.R. Philogene. 2004. Efficacy of piper (Piperaceae) extracts for control of common home and garden insect pests. Journal of Economic Entomology 97(4): 1390–1403.