ลักษณะปากใบของจำนวนชุดโครโมโซมที่แตกต่างกันในกล้วยไม้หวายลูกผสมบางชนิด

Main Article Content

เพียงพิมพ์ ชิดบุรี
นันทวรรณ อินต๊ะนำ
อภิชาติ ชิดบุรี

บทคัดย่อ

จากการศึกษากล้วยไม้หวายลูกผสม 4 สายพันธุ์ พบว่า ลูกผสมแต่ละสายพันธุ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำลูกกล้วยไม่แตกต่างกัน    ขนาดของดอกไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนชุดของโครโมโซมที่เพิ่มขึ้นขณะที่ขนาดพื้นที่ใบและ  ความกว้างใบเปลี่ยนแปลงตามจำนวนชุดของโครโมโซมที่เพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตามจำนวนเซลล์ปากใบและเซลล์ผิวใบต่อพื้นที่ใบมีจำนวนเซลล์ลดลงขณะที่ขนาดเซลล์ปากใบและเซลล์ผิวใบมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีจำนวนชุดของโครโมโซมเพิ่มขึ้น  จากการศึกษานี้พบความสัมพันธ์กันในเชิงบวกของจำนวนเซลล์ปากใบต่อพื้นที่กับดัชนีของเซลล์ปากใบโดยมีค่า r = 0.85  ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์ในเชิงลบระหว่างจำนวนเซลล์ปากใบ  จำนวนเซลล์ผิวใบต่อพื้นที่กับความยาวของเซลล์ปากใบโดยมีค่า r = -0.88 และ -0.94  ตามลำดับ   ค่าความแม่นยำในการใช้ความยาวของเซลล์ปากใบนำไปทำนายหาจำนวนเซลล์ปากใบและเซลล์ผิวใบต่อพื้นที่ได้โดยมีค่า  77 และ 88 % ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต ธรรมศิริ. 2541. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 230 หน้า.

ระพี สาคริก. 2546. การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้เพื่อประโยชน์ทางการค้า. หน้า 291-295. ใน: การปลูกกล้วยไม้เป็นการค้าและการพัฒนาบนพื้นฐานความมั่นคง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Aryavand, A., B. Ehdaie, B. Tran and J.G. Waines. 2003. Stomatal frequency and size differentiate ploidy levels in Aegilops neglecta. Genetic Resources and Crop Evolution 50 (2): 175 – 182.

Kim, M., J. Kim and J. Eun. 2003. Chromosome doubling of a Cymbidium hybrid with colchicine treatment in meristem culture. pp. 37 – 40. In: Proceedings of NIOC. Nagoya, Japan.

Krishnaswami, R. and R. Andal. 1978. Stomatal chloroplast number in diploids and polyploids of Gossypium. pp. 109-112. In: Proceedings of the Indian Academy of Science 87B (Plant Science), Bangalore, India.

Mishra, M.K. 1997. Stomatal characteristics at different ploidy levels in Coffea L. Annals of Botany 80: 689-692.

Przywara, L., K.K. Pandey and P.M. Sanders. 1988. Length of stomata as an indicator of ploidy level in Actinidia deliciosa. New Zealand Journal of Botany 26: 179-182.

Salisbury, E.J. 1927. On the causes and ecological significance of stomatal frequency with special reference to the woodland floral. Philosophical Transactions of the Royal Society B 216: 1-65.