การคัดเลือกแบคทีเรียบนผิวใบเพื่อควบคุม โรคแอนแทรคโนสของเสาวรส

Main Article Content

สุดาพร ปุกแก้ว
อังสนา อัครพิศาล
อรอุมา เรืองวงษ์
เกวลิน คุณาศักดากุล
จิราพร ตยุติวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การคัดเลือกแบคทีเรียบนผิวใบเสาวรสจากโรงเรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส สาเหตุจากเชื้อ Colletotrichum sp. โดยสามารถแยกเชื้อแบคทีเรียบนผิวใบเสาวรสได้ทั้งหมด 11 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบโดยวิธี dual culture พบว่ามีเพียง 3 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Colletotrichum sp. ได้ โดยไอโซเลท CMJ-1 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงที่สุด เท่ากับ 41.99%   รองลงมาได้แก่ ไอโซเลท CMA-1 และ CMM-1 โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้ง 35.45 และ 34.30% ตามลำดับ CMM-1 และ CMJ-1 เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ส่วน CMJ-1 เป็นแบคทีเรียแกรมลบ จากการจำแนกชนิดของแบคทีเรียโดย BIOLOG system พบว่าไอโซเลท CMM-1, CMJ-1 และ CMA-1 คือ Bacillus subtilis,  Bacillus amyloliquefaciens  และ Enterobacter sakazakii

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอี่ยน ศิลาย้อย. 2536. โรคพืช ไม้ผล สมุนไพรและการป้องกันกำจัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัทประชาชน จำกัด, กรุงเทพ. 314 หน้า.

Buchanan, R.E., N.E. Gibbons, S.T. Cowan, J.G. Holt, J. Liston, R.G.E. Murray, C.F. Niven, A.W. Ravin and R.Y. Stanier. 1974. Bergey’ s Manual of Determinative Bacteriology. 8th ed. The Williams and Wilkins Co., Baltimore. 1247 pp.

Knight, R. J., Jr. and J. W. Sauls. 1994. The passion fruit (Online). Available: http://edis.ifas.ufl. edu/pdffiles/MG/MG32800.pdf (August 15, 2003).