ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรข้าวป่าสามัญ จากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในประเทศไทยมีข้าวป่าสามัญ (common wild rice) ชนิดที่เป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกได้แก่ Oryza rufipogon Griff. ซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมสำคัญในงานปรับปรุงพันธุ์ข้าว การศึกษาครั้งนี้ได้ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งภายในและระหว่างประชากรข้าวป่าสามัญ (O. rufipogon) จำนวน 13 ประชากร เก็บมาจากสภาพธรรมชาติ และตามบริเวณขอบแปลงข้าวปลูก นำมาปลูกในกระถาง ที่ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บตัวอย่างใบมาวิเคราะห์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล microsatellite markers 5 ตำแหน่ง ผลการทดลองพบความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรแต่ละประชากรโดยมีค่า gene diversity (h) ตั้งแต่ 0.036 – 0.181 ค่าเฉลี่ย 0.125 มีค่า % polymorphic loci (%P) ระหว่าง 10.34 – 72.41% มีค่าเฉลี่ย 42.48% ค่าดัชนีความหลากหลาย Shannon index (I) ระหว่าง 0.054 – 0.289 มีค่าเฉลี่ย 0.194 นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรจาก จังหวัดนครนายก (NY1) มีความหลากหลายภายในประชากรสูงที่สุด (h = 0.181, %P = 72.41) และประชากรจากอำเภอวังเจ้า จังหวัดตากมีความหลากหลายภายในประชากรต่ำที่สุด (TAK2) (h = 0.036, %P = 10.34) สำหรับความหลากหลายระหว่างประชากรพบว่าตัวอย่างข้าวป่าที่ศึกษาทั้งหมดมีค่าความแตกต่างระหว่างประชากรสูงถึง 44.9% ของความแตกต่างทางพันธุกรรมทั้งหมด (GST= 0.449) จากผลการทดลองชี้ว่าประชากรข้าวป่าจากแหล่งต่าง ๆ มีความหลากหลายระหว่างประชากรสูง การอนุรักษ์เพียงประชากรใดประชากรหนึ่งไม่สามารถเป็นตัวแทนของข้าวป่าทั้งหมดได้ จึงควรจะมีการอนุรักษ์ไว้ในสภาพธรรมชาติ (in situ) โดยแยกอนุรักษ์แต่ละประชากรไว้ในแต่ละท้องถิ่น
Article Details
References
อดิเรก ปัญญาลือ เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม และศันสนีย์ จำจด. 2548. ประเมินลักษณะประจำพันธุ์ของประชากรข้าวป่าสามัญจากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย. หน้า 129-138. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง ”ข้าววัชพืช”. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Chitrakon S. 1995. Characterization, evaluation and utilization of wild rice germplasm in
Thailand. Pathum Thani Rice Research Center, Thailand Rice research Institute Bangkok. 143 pp.
Gregorio, G.B., D. Senadhira, R.d. Mendoza, N.L. Manigbas, J.P. Roxas, and C.Q. Guerta. 2002. Progress in breeding for salinity tolerance and associated abiotic stress in rice. Field Crop Research 76: 91-101.
Kumar, S, K. Tamura, I. B. Jakobsen and M. Nei. 2001. MEGA 2: Molecular Evolutionary Genetic Analysis Software. Bioinformatics 17: 1244–1245 .
Oka H.I. 1988. Origin of Cultivated Rice. Japan Scientific Societies Press and Elsevier, Tokyo. 254 pp.
Yeh, F. C., R. C. Yang, T. Boyle, Z. H. Ye and J. X. Mao. 1997. POPGENE, the user-friendly freeware for population genetic analysis. Molecular Biology and Biotechnology Center. University of Alberta, Canada.