ผลของสารเคมีต่อคุณภาพของกุหลาบตัดดอกพันธุ์ดัลลัส

Main Article Content

วิมลศิริ กาวีต๊ะ
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสารเคมีในลักษณะพัลซิ่งต่อคุณภาพของกุหลาบตัดดอกสีแดงพันธุ์ Dallas โดยแช่ในสารเคมี 5 กรรมวิธี  คือ น้ำกลั่น (ชุดควบคุม), น้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์  AgNO3 150 มก./ลิตร และกรดซิตริก  30  มก./ลิตร,   น้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์  AgNO3 150 มก./ลิตร  8-HQS 400 มก./ลิตรและกรดซิตริก  30 มก./ลิตร,   น้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 200 มก./ลิตร และ CoCl2 260 มก./ลิตร   และน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ Al2(SO4)3 150 มก./ลิตร และกรดซิตริก  30 มก./ลิตร  นาน 12 ชั่วโมงแล้วนำมาปักแจกันในน้ำกลั่น  พบว่าดอกกุหลาบที่แช่ในสารเคมีสำหรับพัลซิ่งที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ AgNO3 150 มก./ลิตร  8-HQS 400 มก./ลิตรและกรดซิตริก  30 มก./ลิตร มีอายุการปักแจกันนานที่สุด  คือ 8.50 วัน  และพบว่าสารเคมีทุกกรรมวิธีช่วยให้ดอกกุหลาบมีคุณภาพดีกว่าชุดควบคุม  ส่วนการศึกษาผลของการปักแจกันดอกกุหลาบพันธุ์ Dallas ในสารเคมีปักแจกัน 5 กรรมวิธี  คือ  น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) น้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ CaCl2 0.4 เปอร์เซ็นต์ และ 8-HQS 200 มก./ลิตร,   น้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ AgNO3 50 มก./ลิตร และ 8-HQS 200 มก./ลิตร,  น้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ และ AgNO3  20 มก./ลิตร   และน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ และ CoNO3  200 มก./ลิตร  พบว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันในสารเคมีที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์  CaCl2 0.4 เปอร์เซ็นต์ และ 8-HQS 200 มก./ลิตรมีอายุการปักแจกันนานที่สุด  คือ 10.27 วัน  และพบว่าสารเคมีทุกกรรมวิธีช่วยให้ดอกกุหลาบมีคุณภาพดีกว่าชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิธิยา รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุณยเกียรติ. 2537. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้. โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 176 หน้า.
ยงยุทธ ข้ามสี่. 2540. สรีรวิทยาและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกไม้ประดับ. เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 224 หน้า.
วรินธร ยิ้มย่อง. 2545. ผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของดอกกุหลาบหลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 141 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2531. เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวดอกไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.
Halevy, A.H. and S. Mayak. 1979. Senescense and postharvest physiology of cut flower- part I, pp. 204-236. In: J. Janick (ed.). Hort. Rev. Vol 1. AVI Publishing Co., Inc., Westport, Connecticut.
Noordegraaf, C.V. 1999. Problems of postharvest management in cut flower. Acta Hort. 482: 53-57.