การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม

Main Article Content

วิจิตรา ทองแก้ว
โชค มิเกล็ด
วิสูตร ศิรินุพงศานันท์

บทคัดย่อ

ใช้โคนมลูกผสมสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียน  จำนวน 12 ตัว ที่อยู่ในช่วงระยะให้นมเดียวกัน และมีปริมาณน้ำนมที่ใกล้เคียงกัน สุ่มเข้าทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 ตัว  ให้โคทั้ง 2 กลุ่มได้รับอาหารหยาบเต็มที่ และได้รับอาหารข้นโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำนม 2 กิโลกรัม แต่อาหารข้นของกลุ่มที่ 1 ไม่มีเปลือกเมล็ดถั่วเหลือง ในขณะที่กลุ่ม 2 มีเปลือกเมล็ดถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ ให้อาหารข้นวันละ 2 มื้อ ในช่วงเวลารีดนมตอนเช้าและตอนเย็น ใช้เวลาทดลองนาน 56 วัน  ผลปรากฎว่า โคกลุ่มที่ 1 และ 2 กินอาหารทั้งหมดคิดเป็นวัตถุแห้งเท่ากับ 12.54 และ 13.37 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ (P>0.05) ปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำนม โปรตีน แลคโตส และของแข็งทั้งหมดไม่รวมไขมันนม มีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่โคกลุ่มที่ 2  มีปริมาณไขมันนม (4.16 เทียบกับ 3.44 เปอร์เซ็นต์) และปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำนม (13.22 เทียบกับ 12.26 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (P<0.05) ต้นทุนค่าอาหารในการผลิตน้ำนมดิบต่อ 1 กิโลกรัมปรับที่ 4 เปอร์เซ็นต์ไขมันนม ลดลงเมื่อใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารข้น  (5.30 เทียบกับ 6.92 บาทต่อกิโลกรัม, P>0.05) และกำไรจากการขายนม 1 กิโลกรัม ปรับที่ 4 เปอร์เซ็นต์ไขมันนม  ของกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (8.45 เทียบกับ 6.94 บาทต่อกิโลกรัม, P<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทอดชัย เวียรศิลป์. 2540. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 343 หน้า.
มนต์ชัย ดวงจินดา. 2537. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยทางสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 129 หน้า.
สุกัญญา เกินกลาง. 2546. ผลของการใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองในอาหารโคนมที่มีผลต่อผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม. ปัญหาพิเศษปริญญาโท ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 33 หน้า.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17th ed. AOAC International, Maryland.
Bernard, J. K. and W. W. McNeill. 1991. Effect of high fiber energy supplements on nutrient digestibility and milk production of lactating dairy cows. J. Dairy Sci. 74: 991-1003.
Davide, C. L. 1977. Laboratory guide in dairy chemistry practicals. 2nd ed., FAO Regional Dairy Development and Training Center for Asia and Pacific. The Government of the Philippines and Denmark.
Firkins, J. L. and M. L. Eastridge. 1992. Replacement of forage or concentrate with combinations of soybean hulls, sodium bicarbonate, or fat for lactating dairy cows. J. Dairy Sci. 75: 2752-2761.
Ipharraguerre, I. R., R. R. Ipharraguerre and J. H. Clark. 2002. Performance of lactating dairy cows fed varying amounts of soybean hulls as a replacement of corn grain. J. Dairy Sci. 85: 2905-2912.
MacGregor, C. A., F. G. Owen and L. D. McGill. 1976. Effect of increasing ration fiber with soybean mill run on digestibility and lactation performance. J. Dairy Sci. 59: 682-696.
National Research Council. 1989. Nutrient Requirements of Dairy Cattle. 6th edition. National Academy Press, Washington, D.C.
Steel, R. G. D. and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics. McGraw–Hill Book Company, Inc., New York. 481 pp.