การเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การเลือกดูดซับประจุบวกของตินชุดหางดง

Main Article Content

สุพจน์ โตตระกูล
เนาวรัตน์ เทพสุวรรณ
กนกพันธ์ พันธุ์สมบัติ

บทคัดย่อ

การหาค่าสัมประสิทธิ์การเลือกดูดซับประจุบวก (K adsorbed/added cation) ในดินหางดงกระทำใน 2 ระบบ คือระบบประจุบวกหนึ่งคู่ ซึ่งใช้ดินที่ทำให้อิ่มตัวด้วยประจุบวกชนิดหนึ่ง และระบบประจุบวกรวมซึ่งใช้ดินเดิมตามธรรมชาติ ซึ่งมีประจุหลายชนิดอยู่ด้วยกัน  ทั้งสองระบบเติมประจุบวกลงไปไล่ที่ในปริมาณต่างๆ กัน หลังจากนั้นหนึ่งเดือนคำนวณหาค่า K โดยใช้สมการ 6 สมการคือ Equilibrium constant, Mass action, Modified Gapon, Langmiur, Vanselow, และ Statistical ผลการทดลองพบว่าค่า K ระหว่างระบบประจุบวกรวมและระบบประจุบวกหนึ่งคู่มีความแตกต่างกัน แต่เนื่องจากค่า K ในระบบประจุบวกรวมมีความแตกต่างกันน้อยกว่าระบบประจุบวกหนึ่งคู่และสถาพของการทดลองก็ใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติมากกว่า ดังนั้นค่า K ของสมการต่าง ๆ ในระบบประจุบวกรวมที่น่าจะนำไปใช้ในทางปฏิบัติในดินหางดงได้bมีดังนี้ Kca/K และ KMg/K ใช้สมการ Vanselow หรือ Statistical, ค่า Kca/Na ,KMg/K  ,KNa/K  และ KMg/Ca ใช้สมการ Mass action สำหรับอำนาจในการแทนที่ของประจุบวกต่าง ๆ ในดินหางดงเป็นดังนี้ Mg2+> Ca2+> K+> Na+

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โตตระกูล, สุพจน์. (2525). หลักการของปฐพีเคมีวิเคราะห์. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพ.
Bolt, G.H. (1975). Soil Chemistry. A Basic Element. Elsevier publishing Com.
Friied, M., and Broeshart, H. (1967). The Soil Plant System inrelation to Inorganic Nutrition. Academic Press.
Wiklander, L. (1964). Cation and Anion Exchange Phenomena. In: Chemistry of the Soil. Bear, F.E. (ed.). Van Nostrand Reinhold Com.