ศักยภาพการคายระเหย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศักยภาพการคายระเหย (Potential Evapotranspiration PET) ที่ได้จากการตรวจวัดโดยตรงโดยใช้ถัง Lysimeter (Drainage type ขนาด 1.2 x 1.2 x 1.0 เมตร) และนำไปเปรียบเทียบกับค่าPETที่ได้จากการคำนวณด้วยข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรโดยวิธีของ Penman, Pan evaporation,Makkink และ Jensen-Haise ได้กระทำขึ้น ณ โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( 12 สิงหาคม - 23 ธันวาคม 2526) ผลปรากฏว่าค่า PET ที่ได้จากการคำนวณโดยวิธีของ Penman ให้ค่าใกล้เคียงกับวิธีตรงมากที่สุด (r = 0.87) วิธีที่ให้ค่าใกล้เคียงรองลงมาคือวิธี Pan evaporation (r = 0.75) ส่วนวิธีของ Jensen-Haise แม้ว่าให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง (r = 0.80) แต่ค่า PET ที่คำนวณได้มีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากวิธีตรงมาก สำหรับวิธีของ Makkink นั้นให้ค่า PET ที่ใกล้เคียงกับวิธีตรงมากกว่าวิธีของ Jensen-Haise แต่ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำ (0.40)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญยธโรกุล, วิบูลย์. (2526) หลักการชลประทาน. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุขเกษม, สิทธิพร. (2527) อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยประจำวัน ที่ได้จากการวัดโดยตรงการคำนวณและจากโมเดล.วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 43-52.
Frere, M. and Popov, G.F. (1979). Agrometeorologicl crop monitoring and forcasting. FOA., Rome.
Jensen, M.E. (1973). Consumptive use of water and irrigation water reguivements. American Socisty of Civil Engineers., New York.
Lomas, J. ;Schlesinger, E. ;and Lewin, J. (1974). Effects of environmental and crop factors on the evopotranspiration rate and water use efficiency of maize. Agri. Met., 13 : 239 - 251.
Penman, H.L. (1956). Evaporation - An introductory survey. Neth. J. Agr.Sci.,4 : 9 -29.
Rosenberg, N.J. (1970). Microclimate : The Biological Environment. John Willey & Sons., New York.