การศึกษาลักษณะประจำสายต้นบางอย่างของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย

Main Article Content

ธวัชชัย ไชยตระกูลทรัพย์
สมศรี ว่องชาญกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะประจำสายต้นของสิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย 5 สายตัน โดยศึกษาลักษณะของช่อผลและผล 14 ลักษณะ ณ สวนแม่แก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลปรากฏว่าลักษณะที่ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างสายต้น คือ ลักษณะความยาวผล, ความหนาเนื้อ, ความยาวเมล็ด, ความกว้างเมล็ดและน้ำหนักเมล็ด ส่วนลักษณะที่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างสายต้นคือ ลักษณะความยาวก้านช่อผล, ความยาวก้านผล, ความกว้างผล, ปริมาตรผล, น้ำหนักต่อผล, ความหนาของเปลือก, เปอร์เซ็นต์ Total Soluble Solids (TSS) และเปอร์เซ็นต์ Titratable Acid (TA) ลักษณะที่มีค่า c.v. ต่ำกว่า 20 % มี 5 ลักษณะ คือ ลักษณะความกว้างผล,ปริมาตรผล, น้ำหนักต่อผล, เปอร์เช็นต์ TSS และเปอร์เซ็นต์ TA จากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสายต้นด้วยวิธี Functional Analysis of Variance พบว่าลักษณะทั้ง 5 ลักษณะดังกล่าวสามารถชี้ความแตกต่างระหว่างสายตันที่ 1 กับสายตันที่ 2,3,4 และ 5 ได้อย่างไรก็ตามยังพบความแตกต่างระหว่างสายต้นที่ 2,3,4 และ 5 โดยสายต้นที่ 2 ต่างจากสายตันที่ 3 ในลักษณะเปอร์เซ็นต์ TA สายต้นที่ 3 ต่างจากสายตันที่ 4 ในลักษณะเปอร์เซ็นต์ TSS ส่วนสายตันที่ 4 ต่างจากสายตันที่ 5 3 ลักษณะคือลักษณะน้ำหนักต่อผลเปอร์เช็นต์ TSS และเปอร์เช็นต์ TA

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยตระกูลทรัพย์, ธวัชชัย (2522). ลักษณะประจำพันธุ์บางชนิดของลิ้นจี่ทางภาคเหนือของประเทศไทย กรุงเทพฯ : การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 17 สาขาพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Asen, S. (1977). Flavonoid Chemical Markers as an Adjunct for Cultivar Identification J. Amer,Soc.Hont.Sci. 12(5) :447-448

Bonner, J.W.;Warner, R.M.; and Brewbaker, L.L. (1974). Chemosystematic Study of Musa Cultivars. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 9 (4) :325-327

Malfaore, R.G. and Barden, J.A. (1989). Horticulture McGraw Hill Book Company. New York. 697 p.

Henderson, I.F. and Henderson, W.D. (1975). A Dictionary of Bioloqical Terms. Lowe and Brudone Limited.Great Britain. 640 p.

Singh, L.B.,and Singh, U.P. (1954). The Lichi Lucknow Superintendent, Printing and U.P. India. 87 p.