การคัดเลือกสายพันธุ์ฟักทองพื้นเมืองแบบสกัดสายพันธุ์และจดบันทึกประวัติเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ฟักทองพันธุ์พื้นเมืองของไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีคุณค่าแก่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ การคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อการสร้างพันธุ์ลูกผสมเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์การทดลองนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ฟักทองพันธุ์พื้นเมืองแบบสกัดสายพันธุ์และจดบันทึกประวัติ ชั่วที่ 4 และ 5 จำนวน 31 สายพันธุ์ และ 17 สายพันธุ์ จากการคัดเลือกแบบจดบันทึกประวัติของคู่ผสม PKT/CMO439 ชั่วที่ 4 และ 5 ร่วมกับพันธุ์มาตรฐาน 9 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 บล็อก ระหว่างตุลาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 พบว่า ลักษณะผลผลิต องค์ประกอบของผลผลิต และลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีทุกลักษณะที่ศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว การประเมินคัดเลือก 13 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่และน้ำหนักผลมากกว่า 1.4 ตัน และ 1.7 กิโลกรัม และพบว่ามีจำนวน 21 สายพันธุ์ ที่มีปริมาณของแข็งมากกว่า ร้อยละ 20.0 และ 5 สายพันธุ์ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของเนื้อดิบมากกว่า ร้อยละ 11.0 การคัดเลือกอย่างอิสระ (independent culling selection) สามารถคัดเลือกได้ 15 สายพันธุ์ จากการสกัดสายพันธุ์และแบบจดบันทึกประวัติ จำนวน 7 และ 8 สายพันธุ์ ตามลำดับ พบว่า สายพันธุ์จากการสกัดมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพมากกว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกแบบจดบันทึกประวัติ ได้แก่ ปริมาณของแข็ง เท่ากับ ร้อยละ 20.6 และ 19.2 ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ของเนื้อดิบและเนื้อนึ่งสุกเท่ากับ ร้อยละ 10.1 และ 8.0 กับ ร้อยละ 11.1 และ 8.7 ตามลำดับ สายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกสามารถนำไปทดสอบสมรรถนะการผสม เพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงสำหรับสร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17th ed. The Association of Official Analytical Chemists, Gaithersburg, Maryland. 2200 p.
Bernardo R. 2010. Breeding for Quantitative Traits in Plants. 1st ed. Woodbury: Stemma Press. 390 p.
Javaherashti, M., M. Ghasemnezhad, H.S. Lahiji, M. Shiri and M. Ali. 2012. Comparison of nutritional value and antioxidant compounds of some winter pumpkin (Cucurbita sp.) species fruits in Iran. Advances Environmental Biology 6(10): 2611 - 2616.
Khanobdee, C. 2020. Cucurbits Breeding and Seed Production. O.S. Printing House, Bangkok. 186 p. (in Thai)
Khanobdee, C., P. Srisamatthakarn, C. Pongsukhumalkul and P. Jinawong. 2022a. Genetic diversity and cluster analysis of 110 heirloom “Khi Nao” pumpkin varieties. Khon Kaen Agriculture Journal 50(Suppl. 1): 208-213. (in Thai)
Khanobdee, C., P. Srisamatthakarn, C. Pongsukhumalkul and P. Jinawong. 2022b. Inbred line selection and evaulation of “Khai-Nao Nan” pumpkin varieties. pp. 214-223. In: Proceedings of the 1st Agricultural Innovation and Natural Resources Conference 2022. Prince of Songkla University, Songkhla. (in Thai)
Khanobdee, C., P. Srisamatthakarn, C. Pongsukhumalkul and P. Jinawong. 2024. Genetic diversity assessment of physical and chemical traits of 100 heirloom “Khai Nao” pumpkin varieties. Journal of Agricultural Research and Extension 41(1): 42-51 (in Thai)
Loy, J.B. 2012. Breeding squash and pumpkins. pp. 93-139. In: Y.-H. Wang, T.K. Behera. and C. Kole (eds.). Genetics, Genomics and Breeding of Cucurbits. CRC Press, Boca Raton.
Medelyaeva, A.Y., A.F. Bukharov, Y.V. Trunov, I.B. Kirina, L.V. Titova and O.A. Protasova. 2021. Biochemical evaluation of the assortment of pumpkin vegetable crops for the creation of functional food products. Earth and Environmental Science 845: 012093, doi10.1088/1755-1315/845/1/012093.
Paris, H.S. 2016. Genetic resources of pumpkins and squash, Cucurbita spp. pp. 111-154. In: R. Grumet, N. Katzir and J. Garcia-Mas (eds.). Genetics and Genomics of Cucurbitaceae. Springer, Cham, Switzerland.
Paris, H.S. and Les D. Jr. Padley. 2014. Gene List for Cucurbita Species. Available: https://cucurbit.info/wp-content/uploads/2018/10/gene14squash.pdf.(September 26, 2024)
Seangngern, J., P. Puddhanon, S. Siripin and V. Sangtong. 2012. Development of single cross hybrid field corn using DNA fingerprinting diversity and diallel cross. Journal of Agricultural Research and Extension 29(2): 25 - 35. (in Thai)
Sirohi, P.S. and S.R. Yayasani. 2001. Gene action of mineral elements and vitamins in pumpkin (Cucurbita moschata). Vegetable Science. 28: 127-129.
Sleper, D.A. and J.M. Poehlman. 2006. Breeding Field Crops. 5th ed. Wiley-Blackwell, Oxford. 432 p.
Wehner, T.C. 1999. Heterosis in vegetable crops. pp. 387-397. In: J.G. Coors and S. Pandey (eds.). Genetics and Exploitation of Heterosis in Crops. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.