การพัฒนาสารเชื่อมประสานสำหรับผลิตอาหารไก่ดำอัดเม็ด

Main Article Content

พัชราภรณ์ อินริราย
ธวัลรัตน์ สัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารเชื่อมประสานสำหรับการอัดเม็ดอาหารไก่ดำ และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของอาหารไก่ดำอัดเม็ด โดยอาหารไก่ดำอัดเม็ดใช้สารเชื่อมประสานที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด และแป้งข้าวเจ้า ผสมกับส่วนผสมของอาหารไก่ดำอัดเม็ดสูตรโปรตีนร้อยละ 16 จำนวน 12 สูตร การทดลองเป็นแบบแฟคทอเรียลภายใต้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (factorial experiments in CRD) ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารไก่ดำอัดเม็ดที่ผลิตโดยอัตราส่วนอาหารไก่กับสารเชื่อมประสานที่ต่างกันให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยการใช้แป้งข้าวเจ้าอัตราส่วน 2:3 ให้ผลผลิตมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 78.83 ด้านค่าสีพบว่าชนิดสารเชื่อมประสาน กับอัตราส่วนที่ต่างกันมีค่า L* และค่า a* ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และค่า b* แป้งข้าวเจ้า อัตราส่วน 1:1 มีค่ามากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 14.59 (p<0.01) ในขณะเดียวกันการใช้สารเชื่อมประสานต่างชนิดกันส่งผลให้ ค่าแรงกดสูงสุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) การเลือกใช้สารเชื่อมประสานกับส่วนผสมอาหารไก่ ด้วยแป้งมันสำประหลังที่อัตราส่วน 2:3 จะให้ค่าแรงกดสูงสุดน้อยที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 19.24 กิโลกรัมแรงกด รองลงมาคือการใช้แป้งข้าวเจ้าอัตราส่วน 2:3 มีค่าแรงกดสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 20.08 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกัน โดยความแข็งของเม็ดอาหารน้อย จะส่งผลดีต่อ ธรรมชาติการกินของไก่ นอกจากนี้ชนิดสารเชื่อมประสานกับอัตราส่วนผสมต่างกันมีค่าความชื้นสุดท้ายแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) การใช้แป้งข้าวโพดอัตราส่วน 2:3 มีค่าความชื้นสุดท้ายมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 8.11 แต่อัตราส่วนอื่นมีค่าความชื้นอยู่ในช่วงเดียวกัน ดังนั้นหากมีการเลือกใช้สูตรอาหารไก่ดำอัดเม็ดโดยแป้งข้าวเจ้าเป็นสารเชื่อมประสานอัตราส่วน 2:3 มีความเหมาะสมเพียงพอสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ดำภูพานหรือไก่พื้นเมืองอื่นที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตด้านอาหาร โดยต้นทุนการผลิตดังกล่าว มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 16 บาทต่อโลกรัม

Article Details

How to Cite
อินริราย พ., & สัมฤทธิ์ ธ. . (2021). การพัฒนาสารเชื่อมประสานสำหรับผลิตอาหารไก่ดำอัดเม็ด. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(2), 171–181. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248744
บท
บทความวิจัย

References

Amornthewaphat, N and Chatakanonda, P. 2006.Effect of Conditioning and Pelleting Temperature on Pellet Hardness and Starch Utilization in Corn and Cassava Chip. paper presented.InThe 44thKasetsart University annual conference, Bangkok, Kasetsart University, Thailand. (in Thai)

Boonwatcharapan, Y., Sutthiparinyanont, S and Chitropas, P. 2012. A Feasibility Study of Alcoholic-Alkaline Treated Rice Starch as Filler in Tablet Dosage Forms for Health Product. paper presented inNatural Beauty and Health through Aesthetic Sciences (1stDecade of Aesthetic Sciences and Health And 50thAnniversary of KKU), Khon Kaen, Khon KaenUniversity, Thailand. (in Thai)

Chintanawit, W. 2018. Things everyone needs to know in sending samples to analyze the nutritional value of raw materials/animal feeds. research article, Kasetsart Livestocks Magazine, 54-58. (in Thai)

Jantharphenkun, L. 2015. The Calculation and Production Animal Feed. Availablefrom: URL:https://dspace.bru.ac.th/xmlui/. (in Thai)

Kaewprachum, C. 2018. Effects of Recipe Development on Turkey Production Performance. research article.Journal of Vocational Institute of agriculture. 2(1): 58-65. (in Thai)

Pinkvanilla. 2012. The characteristics and propertiestypes of powder.[online]. [Accessed Jul22, 2020]. Available from: URL: http://www.pinkvanilla.in.th/. (in Thai)

Sookmanee, K., Amornthewaphat, N., Kasemsuwan, S and Attamangkune, S. 2006. Effect of Pellet Size on Growth Performance, Carcass Characteristics and Stomach Morphology in Starting Growing and Finishing Pigs.Paper presentedinProceedings of 44thKasetsart University Annual Conference : Animal, Veterinary Medicine, Bangkok, Kasetsart University, Thailand. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., Cheva-Isarakul, B and Pingmuang, R. 2000. The recommendation dietary proteinand energy levels for growing crossred native chickens. InThe 38thKasetsart University annual conference, Bangkok, Kasetsart University, Thailand. (in Thai)