การขยายพันธุ์ในหลอดแก้วของกล้วยไม้กะเรกะร่อน (Cymbidium aloifolium (L.) Sw.) กล้วยไม้ป่าใกล้สูญพันธุ์ในกลุ่มป่าชุมชน

Main Article Content

จตุพร หงส์ทองคำ
รชยา พรมวงศ์

บทคัดย่อ

กล้วยไม้กะเรกะร่อน (Cymbidium aloifolium (L.) Sw.) เป็นกล้วยไม้ป่าประเภทอิงอาศัยที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสูตรอาหารต่อการงอกของเมล็ดและผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้
กะเรกะร่อนในสภาพปลอดเชื้อ โดยน าเมล็ดกล้วยไม้จากฝักที่มีอายุ 6 เดือน มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ สูตร MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 3 เปอร์เซ็นต์และอาหารสูตร ND ที่เติมน้ำตาลซูโครส 1 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 30 วัน พบว่า อาหารสังเคราะห์ที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดกะเรกะร่อนคือ อาหารสูตร ND โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุดคือ 100 เมล็ดที่งอกสามารถเจริญเป็นโปรโตคอร์มได้ภายใน 20-25 วัน เมื่อน าโปรโตคอร์มที่มีอายุ 50 วัน มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร ND ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0, 0.5 และ 1 มก./ล. ร่วมกับ BA หรือ Kn ที่ระดับความเข้มข้น 0, 1, 3 และ 5 มก./ล. เป็นเวลา 90 วัน พบว่า โปรโตคอร์มที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มก./ล. เกิดยอดได้ดีที่สุด โดยมีจ านวนยอดเฉลี่ย 7.27 ยอด/
โปรโตคอร์ม ขณะที่อาหารที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มก./ล. ร่วมกับ Kn ความเข้มข้น 5 มก./ล. ต้นอ่อนเกิดรากได้ดีที่สุด โดยมีจำนวนรากเฉลี่ย 3.40 ราก/ต้น และต้นอ่อนมีความสูงเฉลี่ยสูงสุด 12.47 ซม. เมื่อย้ายต้นอ่อนออกปลูกในสภาพโรงเรือนเป็นเวลา 30 วัน พบว่ากล้วยไม้ที่ปลูกในกระถางที่มีกาบมะพร้าวสับมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุดคือ 83 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถน าไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้กะเรกะร่อนเพื่อเพิ่มปริมาณในหลอดทดลอง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ชนิดนี้ต่อไป

Article Details

How to Cite
หงส์ทองคำ จ. ., & พรมวงศ์ ร. . (2021). การขยายพันธุ์ในหลอดแก้วของกล้วยไม้กะเรกะร่อน (Cymbidium aloifolium (L.) Sw.) กล้วยไม้ป่าใกล้สูญพันธุ์ในกลุ่มป่าชุมชน. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 146–154. https://doi.org/10.14456/paj.2017.2
บท
บทความวิจัย