การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวันสำหรับชาวบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

น้ำทิพย์ คำแร่
ยุวนิดา สุภา

บทคัดย่อ

วิิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการรับรู้เรื่องพืชสมุนไพรแก่นตะวัน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนเกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวันก่อนและหลังการอบรมการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพการรับรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่นตะวัน คือ ชาวบ้าน จ านวน 83 คน ได้จากตัวแทนครัวเรือนละ 1 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย และ กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการส่งเสริมด้วยการอบรม คือ ชาวบ้าน จ านวน 30 คน โดยการสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการรับรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่นตะวัน แบบสอบถามความรู้ แบบวัดทัศน คู่มือการอบรมการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวัน และแผ่นพับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ
สมมติฐานใช้ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่นตะวัน ชาวบ้านมีความรู้และทัศนเกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวันเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม (P<0.05)

Article Details

How to Cite
คำแร่ น., & สุภา ย. . (2021). การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรแก่นตะวันสำหรับชาวบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 155–164. https://doi.org/10.14456/paj.2017.3
บท
บทความวิจัย