การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งใบบัวบกโดยรังสีอินฟราเรดต้นแบบ

Main Article Content

พัชราภรณ์ อินริราย
สุรินทราพร ชั่งไชย
สุพรรณี คำอินทร์
ทิวา สุขโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและการสร้างเครื่องอบแห้งรังสีอินฟราเรดต้นแบบส าหรับอบแห้งใบบัวบกโดยศึกษาการท างานของเครื่องและลักษณะการลดลงของความชื้นของใบบัวบก ศึกษาคุณภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการอบแห้งโดยใช้รังสีอินฟราเรด เครื่องอบแห้งที่ออกแบบมีขนาดความกว้าง x ความยาว x ความสูง เท่ากับ 41 x 51 x 41 เซนติเมตร ที่ติดตั้งหลอดอินฟราเรดขนาด 500 วัตต์ บริเวณด้านบน และติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอากาศภายในเครื่องอยู่ในช่วง 40-50 องศาเซลเซียส ซึ่งมีความเหมาะสมส าหรับใช้ในการอบแห้งใบบัวบก เพื่อให้ความชื้นของใบบัวบกแห้งมีค่าน้อยกว่า 10% มาตรฐานแห้ง ส าหรับการศึกษาความชื้นของผลิตภัณฑ์อบแห้งพบว่า เวลาเหมาะสมที่ใช้ในการอบแห้งเท่ากับ 3.5 ชั่วโมง ได้ค่าความชื้นของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 6.92±0.24% มาตรฐานแห้ง ซึ่งท าให้ความชื้นของผลิตภัณฑ์อบแห้งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนใบบัวบกแห้งชงดื่ม และจากการศึกษาประสิทธิภาพการอบแห้งของเครื่องอบแห้งอินฟราเรดต้นแบบที่ระยะเวลาอบแห้งเท่ากับ 3.5 ชั่วโมง พบว่า เครื่องอบแห้งรังสีอินฟราเรดต้นแบบมีค่าประสิทธิภาพของการอบแห้งเท่ากับ 22.47±0.73% ค่าการสิ้นเปลืองพลังงานจ าเพาะเท่ากับ 16.36±0.53 เมกะจูลต่อกิโลกรัม และค่าร้อยละของผลิตภัณฑ์อบแห้ง (Yield) เท่ากับ 13.63±0.60% นอกจากนั้นจากการศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อบแห้งพบว่า ค่า aw ของใบบัวบกอบแห้งมีค่าเท่ากับ 0.33±0.02 ซึ่งน้อยกว่า 0.65 ที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ส าหรับคุณภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์อบแห้งมีค่าความแตกต่างของสีโดยรวมจากใบบัวบกสด (∆E) น้อยกว่าใบบัวบกอบแห้งตามท้องตลาด ทั้งนี้พบว่า ใบบัวบกอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งรังสีอินฟราเรดต้นแบบนั้นมีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีเขียว (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มากกว่าใบบัวบกสดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P≤0.05) ซึ่งเครื่อง อบแห้งรังสีอินฟราเรดต้นแบบที่ท าการออกแบบสามารถประยุกต์ใช้ในการอบแห้งใบบัวบกได

Article Details

How to Cite
อินริราย พ., ชั่งไชย ส., คำอินทร์ . ส., & สุขโชติ ท. (2021). การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งใบบัวบกโดยรังสีอินฟราเรดต้นแบบ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 247–257. https://doi.org/10.14456/paj.2019.4
บท
บทความวิจัย