การวิเคราะห์พื้นที่ระบาดของหอยเชอรี่ในประเทศไทย

Main Article Content

ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์
สยาม อรุณศรีมรกต
จันทิมา ปิยะพงษ์
กฤษนัยน์ เจริญจิตร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงในการแพร่กระจายของหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ในประเทศไทย เป็นการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศโดยใช้หลักการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (PSA) และเทคนิคการซ้อนทับข้อมูล ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ แหล่งน้้า พื้นที่น้้าท่วม พื้นที่ชลประทาน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกจากนี้ได้ทำการ
สำรวจภาคสนามเพื่อประเมินสถานภาพการกระจายของหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง (Pila spp.) และหอยเชอรี่ในประเทศไทย โดยทำการเก็บตัวอย่างหอยทั้ง 2 ชนิดจาก 12 พื้นที่ชุ่มน้้าของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า หอยเชอรี่มีการระบาดในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นพื้นที่ 477,092.87 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 84.62 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมีการระบาดในภาคใต้ (ร้อยละ 99.99 ของพื้นที่ทั้งภาค) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 96.99) ภาคกลาง (ร้อยละ 94.26) ภาคตะวันออก (ร้อยละ 91.84) และภาคเหนือ (ร้อยละ 59.96) เมื่อท้าการศึกษาถึงปริมาณการระบาดของหอยเชอรี่ พบว่า หอยเชอรี่มีปริมาณการระบาดหนาแน่นที่สุดในภาคกลาง ส่วนในภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมีปริมาณการระบาดน้อยกว่า (มีการระบาดของหอยเชอรี่บางฤดู) และจากการส้ารวจภาคสนามพบว่า หอยเชอรี่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ชุ่มน้้าที่ท้าการศึกษา แต่พบหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองแพร่กระจายใน 4 พื้นที่ ได้แก่ หนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี พื้นที่ชุ่มน้้าในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ่างเก็บน้้าสนามบิน จังหวัดบุรีรัมย์ อ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ชุ่มน้้าในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

Article Details

How to Cite
ประดับเพชรรัตน์ ป. ., อรุณศรีมรกต ส. ., ปิยะพงษ์ จ. ., & เจริญจิตร ก. . (2021). การวิเคราะห์พื้นที่ระบาดของหอยเชอรี่ในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 247–257. https://doi.org/10.14456/paj.2017.14
บท
บทความวิจัย