โรคติดเชื้อปรสิตของกบนา (Hoplobatrachus rugulosus) ในจังหวัดมหาสารคามและ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ปณรัตน์ ผาดี
ผ่องศรี จุลวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดของปรสิตในกบนาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด จ านวน 5 ฟาร์ม ในกบ 3 ระยะคือ ลูกอ๊อด ลูกกบ และกบเนื้อ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2558 ถึงเดือนกรกฎาคม 2559 ท าการเก็บตัวอย่างกบป่วยทั้งหมดจำนวน 833 ตัว ซึ่งแยกเป็นกบระยะลูกอ๊อด ลูกกบ และกบเนื้อจ านวน 320, 330 และ 183 ตัว ตามล าดับ พร้อมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ าต่อการติดเชื้อปรสิต ผลการศึกษาพบปรสิตในกบทั้ง 3 ระยะตลอดทั้งปี โดยพบการติดเชื้อปรสิตทั้งหมด 91.72% (764 ตัว) ซึ่งพบทั้งปรสิตภายนอกและปรสิตภายใน คิดเป็น 9.89 และ 90.11% ตามล าดับ โดยปรสิตภายนอกพบโปรโตซัว 2 สกุล คือ Epistylis และ Acineta ส่วนปรสิตภายในโดยเฉพาะล าไส้ พบปรสิตกลุ่มโปรโตซัว 2สกุล คือ Opalina และ Balantidium และปรสิตกลุ่มโรติเฟอร์ 4 สกุล คือ Monostyla, Lecane, Philodina และBrachionus โดยพบว่า Opalina และ Balantidium มีการแพร่กระจาย ความชุกชุม และความหนาแน่นมากที่สุดในทุกระยะ ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ส่วนชนิดที่มีความชุกชุมน้อยที่สุด คือ Philodina ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ า พบว่า โดยรวมคุณภาพน้ าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการด ารงชีวิตของกบ ยกเว้นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ า ค่าแอมโมเนียรวม และค่าไนไตรท์โดยสรุปจะเห็นว่าการเกิดโรคปรสิตในกบนั้นสามารถเกิดได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ชนิดและความชุกชุมของปรสิตจะขึ้นอยู่กับการจัดการการเลี้ยง คุณภาพน้ า และฤดูกาล โดยเฉพาะหากน้ าที่ใช้เลี้ยงกบมีการสะสมของสารอินทรีย์และของเสียต่างๆจะก่อให้เกิดการเพิ่มจ านวนของเชื้อโรคและส่งผลต่อการเกิดโรค ในการป้องกันรักษาติดเชื้อปรสิตในกบอาจใช้ยาก าจัดพยาธิการฆ่าเชื้อภายในบ่อเป็นระยะๆ และสิ่งส าคัญที่สุดคือ การจัดการฟาร์มให้ถูกสุขลักษณะและจัดการคุณภาพน้ าภายในบ่อเลี้ยงกบให้สะอาดและเหมาะสมอยู่เสมอ

Article Details

How to Cite
ผาดี ป. ., & จุลวงศ์ ผ. . (2021). โรคติดเชื้อปรสิตของกบนา (Hoplobatrachus rugulosus) ในจังหวัดมหาสารคามและ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 325 –. https://doi.org/10.14456/paj.2019.10
บท
บทความวิจัย