ผลของอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะขยายพันธุ์กบนาลูกผสมในฤดูหนาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของพ่อแม่พันธุ์กบนาลูกผสม และเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิต่ออัตราการปฏิสนธิและอัตราการเพาะฟักไข่กบนาลูกผสม โดยการเลี้ยงกบพ่อแม่พันธุ์ในบ่อซีเมนต์ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 วางแผนการทดลองแบบสุ่ม สมบูรณ์(Completely Randomized Design; CRD) จ้านวน 3 ซ้้า ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ควบคุมอุณหภูมิ2) ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส 3) ควบคุมอุณหภูมิที่ 32 องศาเซลเซียส 4) ควบคุมอุณหภูมิที่ 34 องศาเซลเซียส และ 5) ควบคุมอุณหภูมิที่ 36 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกบนาลูกผสมที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในบ่อซีเมนต์ในช่วงฤดูหนาว ในสภาพที่ไม่มีการควบ วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คุมอุณหภูมิ และในสภาพที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 30, 32, 34 และ 36 องศาเซลเซียสไม่มีผลที่ให้การเจริญเติบโตในด้านน้้าหนัก และอัตราการรอดตายของกบพ่อแม่พันธุ์แตกต่างกัน กบแม่พันธุ์เพศเมียที่เลี้ยงในสภาพที่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวจะไม่มีการออกไข่ ในขณะทีกบแม่พันธุ์เพศเมียที่เลี้ยงในสภาพที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 30, 32, 34 และ 36 องศาเซลเซียสมีการออกไข่ทั้งหมด จ้านวนไข่กบของแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในสภาพควบคุมอุณหภูมิที่ 34 องศาเซลเซียสมีแนวโน้มได้รับการปฏิสนธิมากที่สุด การเลี้ยงกบพ่อแม่พันธุ์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 30-36 องศาเซลเซียสมีอัตราการฟักอยู่ในช่วงระหว่าง 45.9-95.9 เปอร์เซ็นต์จากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาลูกผสมในช่วงฤดูหนาวเพื่อการเพาะพันธุ์กบนาลูกผสมสามารถท้าได้ และการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะขยายพันธุ์กบนาลูกผสมควรอยู่ในช่วงระหว่าง 30-36 องศาเซลเซียส