ผลของสีฝักและวัสดุปลูกต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าครามฝักงอ

Main Article Content

ครองใจ โสมรักษ์

บทคัดย่อ

ครามเป็นพืชตระกูลถั่วที่เมล็ดมีการสุกแก่ไม่พร้อมกัน และเป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในการย้อมผ้างานวิจัยนี้จึงได้ด าเนินการทดลองประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของสีฝักต่อความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดคราม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จ านวน 3 กรรมวิธี ๆ ละ 4 ซ้ า ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 คือ ฝักครามสีเขียวปนน้ าตาล กรรมวิธีที่ 2 คือ ฝักครามสีน้ าตาล และกรรมวิธีที่ 3 คือ ฝักครามสีด า ผลการทดลอง พบว่า เมล็ดครามจากฝักครามสีน้ าตาล มีเปอร์เซ็นต์ความงอก และความแข็งแรงสูงที่สุด คือ 35.75 และ 7.66 ตามล าดับ ส่วนเมล็ดครามจากฝักสีด า ให้เปอร์เซ็นต์ความงอกต่ าที่สุด คือ 22.00 (P<0.05) จึงได้น าเมล็ดครามจากฝักสีน้ าตาลไปศึกษาผลของวัสดุปลูกต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าคราม (การทดลองที่ 2) วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จ านวน 3กรรมวิธี ๆ ละ 3 ซ้ า ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 คือ พีทมอส (ควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 คือ ดิน : แกลบเผา : ปุ๋ยคอก อัตรา 1:1:1(v/v)และกรรมวิธีที่ 3 คือ ดิน : ขุยมะพร้าว : ปุ๋ยคอก อัตรา 1:1:1(v/v) ผลการทดลอง พบว่า การใช้พีทมอสเป็นวัสดุปลูกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสุด คือ 69.00 รวมทั้งการเจริญเติบโตของต้นกล้าคราม ทั้งด้านความสูง จ านวนใบ ความยาวรากและน้ าหนักสดสูงที่สุด คือ ความสูงของต้น 9.55 เซนติเมตร จ านวนใบ 6.30 ใบ ความยาวราก 9.99 เซนติเมตร และน้ าหนักสดของต้นกล้า 0.76 กรัมต่อต้น (P<0.01)

Article Details

How to Cite
โสมรักษ์ ค. . (2021). ผลของสีฝักและวัสดุปลูกต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าครามฝักงอ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 375 –. https://doi.org/10.14456/paj.2019.14
บท
บทความวิจัย