ผลของสารสกัดหยาบจากใบผกากรอง (Lantana camara Linn.) ในการเป็นสารฆ่า สารยับยั้งการวางไข่ และสารยับยั้งการออกเป็นตัวเต็มวัยรุ่นลูกหลานของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculatus (F.))

Main Article Content

ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์

บทคัดย่อ

ปัญหาส าคัญประการหนึ่งของการเก็บรักษาถั่วเขียวคือการเข้าท าลายของแมลงศัตรูในโรงเก็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วงถั่วเขียว วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากใบผกากรอง (Lantana camaraLinn.) ในการเป็นสารฆ่าโดยการรมที่ระดับความเข้มข้น 30.71, 61.40, 122.85, 245.70 และ 491.40 mg/L สารยับยั้งการวางไข่และสารยับยั้งการออกเป็นตัวเต็มวัยรุ่นลูกหลานของด้วงถั่วเขียวโดยวิธีเคลือบเมล็ดที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1, 2, 4 และ 8.0% (w/v) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ความเข้มข้นละ 5 ซ้ า ซ้ าละ 10 ตัว ท าการทดลองในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบจากใบผกากรองมีผลต่อการฆ่า การยับยั้งการวางไข่และการยับยั้งการออกเป็นตัวเต็มวัยรุ่นลูกหลานของด้วงถั่วเขียวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยที่ความเข้มข้น 491.40 mg/L มีผลในการเป็นสารฆ่าโดยวิธีการรมสูงสุด 100% มีค่า LC50 เท่ากับ 105.28 และ 33.73 mg/L ที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ตามล าดับ และที่ความเข้มข้น 8% มีผลในการยับยั้งการวางไข่และยับยั้งการ
ออกเป็นตัวเต็มวัยรุ่นลูกหลานของด้วงถั่วเขียวสูงสุด ซึ่งสามารถยับยั้งการวางไข่ด้วงถั่วเขียวได้ 95.95% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม และสามารถยับยั้งการออกเป็นตัวเต็มวัยได้ 94.50% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 43.80 + 0.74 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 25.80 + 1.16 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย