ทานตะวันงอก: โภชนบำบัดเพื่อการควบคุมโรคทางเมตาบอลิก

Main Article Content

แคทรียา สุขวรรณ
วราวุธ ธนะมูล
สุธิดา จันทร์ลุน
พิทยา ภาภิรมย์

บทคัดย่อ

การศึการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของทานตะวันงอกในการเป็นโภชนบ าบัดเพื่อการควบคุมโรคทางเมตาบอลิกในหนูเมาซ์ โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยหนูเมาซ์จ านวน 5 ตัว กลุ่มทดลองได้แก่ กลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันต่ า (LF) อาหารมาตรฐาน (RD) อาหารไขมันสูง (HF) เพียงอย่างเดียว และอาหารไขมันสูง(HF) มีส่วนประกอบของทานตะวันงอก ร้อยละ 2 (SFS2%) 8 (SFS8%) และ 16 (SFS16%) ตามล าดับ ผลการทดลองพ บ ว่ าหนูในกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียวมีอัตราการเพิ่มน้ าหนักสูงที่สุดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ าหนัก ร้อยละ 5.56 + 0.10) การเสริมทานตะวันงอกในอาหารไขมันสูง (SFS2%, SFS8% และ SFS16%) ไม่มีผลต่อค่าไตรกลีเซอไรด์ แต่มีผลต่อค่าคอลเลสเตอรอลรวม (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงพร้อมทั้งเสริมทานตะวันงอกในสูตรอาหารมีค่าลิโพโปรตีนชนิด HDL เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีค่า LDL อยู่ในระดับต่ า จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนระหว่างค่าคลอเลสเตอรอลรวมต่อค่าลิโพโปรตีนชนิด HDL (TC:HDL Ratio) อยู่ในระดับต่ าอย่างมีนัยส าคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว (P<0.05) ระดับน้ าตาลในซีรัมที่ตรวจได้ในทุกกลุ่มที่ได้รับทานตะวันงอกยังมีปริมาณเทียบเคียงกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันต่ า (P>0.05) และพบว่าเมื่อตรวจ
ค่าพารามิเตอร์การท างานของตับ (เอนไซม์ SGOT and ALP) ของหนูทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูง แต่อย่างไรก็ตาม ระดับเอนไซม์ทั้งสองชนิดมีค่าอยู่ในช่วงปกติของหนูสุขภาพดี จากข้อมูลทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าการเสริมทานตะวันในสูตรอาหาร ตั้งแต่ ร้อยละ 2 ภายในสูตรอาหาร ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการ
ควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลและระดับน้ าตาลในร่างกาย

Article Details

How to Cite
สุขวรรณ แ. ., ธนะมูล ว. ., จันทร์ลุน . ส. ., & ภาภิรมย์ พ. . (2021). ทานตะวันงอก: โภชนบำบัดเพื่อการควบคุมโรคทางเมตาบอลิก. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 415–426. https://doi.org/10.14456/paj.2019.18
บท
บทความวิจัย