ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมไรสองจุด Tetranychus urticae (Trombidiformes: Tetranychidae)

Main Article Content

จักรพงษ์ สุภาวรรณ
กรวัฒน์ อรรถโสภา
ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์
พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ
กุลชา ชยรพ
ณัฐดนัย ลิขิตตระการ
ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว

บทคัดย่อ

ไรสองจุด Tetranychus urticae Koch, 1836 จัดเป็นไรศัตรูทางการเกษตรที่ส าคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตของพืชปลูกหลายชนิด และมีการพัฒนาความต้านทานต่อสารก าจัดไร จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องหาวิธีที่เป็นทางเลือกในการควบคุมไรสองจุด การศึกษานี้ได้ศึกษาสัณฐานวิทยาเพื่อใช้ในการระบุชนิดไร และท าการศึกษาผลของการควบคุมไรด้วยเชื้อราสาเหตุโรคของแมลง 2 ชนิด ได้แก่ Metarhizium anisopliae ไอโซเลท Ma-MJU-BCTLC-218 และ Beauveria bassiana ไอโซเลทBb-MJU-BCTLC-086 โดยในการทดลองในสภาพห้องปฏิบัติการ ใช้เชื้อราสาเหตุโรคของแมลงความเข้มข้น 1x107และ 1x109โคนิเดียต่อมิลลิลิตร ตามล าดับ เปรียบเทียบกับสารเคมีก าจัดไร (propagite และ amitraz) พบว่าหลังการพ่นสาร 24 ชั่วโมง อัตราการตายของไรกลุ่มที่พ่นด้วยเชื้อราสาเหตุโรคของแมลง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกลุ่มที่พ่นด้วยน้ ากลั่น (p<0.05) แต่หลังจากพ่น 48 และ 72 ชั่วโมง อัตราการตายของไรกลุ่มที่พ่นด้วยเชื้อราสาเหตุโรคแมลงเพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ท าให้อัตราการตายสูงที่สุด คือกลุ่มที่พ่นด้วยเชื้อ B. bassiana ความเข้มข้น 1x109 โคนิเดียต่อมิลลิลิตร ซึ่งไรสองจุดมีอัตราการตาย 56 เปอร์เซ็นต์ หลังการพ่น 72 ชั่วโมง ขณะที่การพ่นด้วยสารก าจัดไร propagite และ amitraz มีอัตราการตายของไรสองจุดมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกกรรมวิธีที่ 48 และ 72 ชั่วโมง การศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคของแมลงที่สามารถน าไปประยุกต์ในการจัดการควบคุมไรสองจุดเพื่อลดอัตราการใช้สารก าจัดไรในการเกษตรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย