แนวทางการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของวิสาหกิจชุมชนแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว บ้านดงยาง อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

มัตติกา สาวงษ์นาม
ไกรเลิศ ทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงยาง 2) ศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของวิสาหกิจชุมชนแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงยาง 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของวิสาหกิจชุมชนแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงยาง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ วิสาหกิจชุมชนแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงยาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร รวมผู้ให้ข้อมูล50 คน วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยวิธีการสัมภาษณ์และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม Appreciation Influence Control (AIC)ผลการวิจัยพบว่า การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าววิสาหกิจชุมชน ด้านการบริหารจัดการ มีโครงสร้างคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่ในทำงานอย่างชัดเจน มีการวางแผนการดำเนินงาน มีแผนการควบคุมคุณภาพการผลิต สมาชิกผ่านการตรวจประเมินแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ทุกแปลง มีการจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับสมาชิก มีช่องทางการจำหน่าย ได้แก่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน เครือข่ายแปลงใหญ่และเกษตรกรทั่วไป ด้านการบริหารจัดการด้านการเงินและการบัญชี พบว่า แหล่งที่มาของเงินทุน จากการระดมหุ้น และ กู้เงินจากโครงการสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อการพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยของธนาคารเพื่อการเกษตร( ธ.ก.ส.) มีการจดบันทึกรายรับ- รายจ่าย ของวิสากิจชุมชน และแนวทางการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว มี 3 แนวทาง คือ (1) ด้านการผลิต (Production)โดยจัดทำโครงการปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต (2) ด้านการจัดการคุณภาพผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังเก็บเกี่ยว (Post HarvestQuality Management ) โดยจัดทำโครงการลานตากข้าวคอนกรีต (3) ด้านการตลาด (Marketing) โดยจัดทำโครงการซื้อรถกระบะเพื่อบริการขนส่งเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรและใช้ในกิจกรรมต่างๆของวิสาหกิจชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย