คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองบางพันธุ์ที่พบในเขตจังหวัดมหาสารคามและ จังหวัดใกล้เคียงที่อายุการเก็บรักษาแตกต่างกัน

Main Article Content

ธีระรัตน์ ชิณแสน
สำราญ พิมราช
นภาพร เวชกามา
เกศจิตต์ ขามคุลา
สมชาย ชคตระการ

บทคัดย่อ

จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมหรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีชื่อเสียง อย่างไรก็ตาม นอกจากการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจแล้วในเขตพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถพบการเพาะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีความส าคัญต่อเกษตรกรหรือชุมชนบางกลุ่ม ทั้งนี้ การศึกษาด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองยังมีอย่างจ ากัด ดังนั้น การศึกษานี้จึงได้รวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่อายุ 2, 4, 6, 8, 10 และ 12เดือนหลังการเก็บเกี่ยว ภายใต้สภาพควบคุมอุณหภูมิ (4 - 7°C)และสภาพเปิด (ที่อุณหภูมิห้อง 25 - 35°C) โดยเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง 10 พันธุ์ ได้แก่ กู้เมืองหลวง กอเดียว โสมมาลี ข้าวดอ เจ้าแดง เหลืองก าแมด สัมพันธ์แดงหอมนางนวล ก่ าด าเตี้ย และ ผาแดง และพันธุ์เปรียบเทียบที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ กข 6 และขาวดอกมะลิ 105จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์เปรียบเทียบที่อายุการเก็บรักษาต่างกันมีความงอก(เปอร์เซ็นต์) ใกล้เคียงกันตลอดอายุการเก็บรักษา ยกเว้นพันธุ์กู้เมืองหลวงและก่ าด าเตี้ยที่มีความงอกเพิ่มขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น โดยที่อายุ 2 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว มีความงอกระหว่าง 71.00 - 72.50% และ 61.50 - 62.50%ตามล าดับ และเพิ่มขึ้นเป็น 96.50 - 97.50% และ 95.00 - 97.50% ตามล าดับ ที่อายุ 12 เดือนหลังการเก็บเกี่ยวเช่นเดียวกับเวลาเฉลี่ยในการงอกและดัชนีความงอกที่มีลักษณะดีขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุการเก็บรักษา 10 หรือ 12 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว โดยช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีผลให้เมล็ดพันธุ์ข้าวคลายการพักตัวตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ยังสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกพันธุ์ได้ในสภาพเปิด (ที่อุณหภูมิห้อง) ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย