การวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ทัศนีย์ อารมย์เกลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาศักยภาพของชุมชนภาคการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (PurposiveSampling) จากกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ จานวน 5 ต าบล 5 กลุ่มเกษตรกร อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT Analysis อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่สู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 5 กลุ่ม มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด คุณสมบัติของดิน การแปรรูปสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจัดการบัญชีกลุ่มสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ทีสนใจได้ แต่มีจุดอ่อนคือ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการฟาร์มที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนปัจจัยด้านโอกาสที่ส าคัญ มีหน่วยงานสนับสนุนในการจัดการฟาร์มและให้ความรู้อย่างสม่ าเสมอส่วนอุปสรรคที่ส าคัญได้แก่ ความต้องการสินค้าเกษตรมีเพียงกลุ่มลูกค้าประจ าในระดับชุมชนเท่านั้น จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถน ามาสร้างแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด 7 ประเด็นดังนี้ 1) การวางแผน 2) ระบบการผลิตและมาตรฐานที่ปลอดภัย 3) การเจรจาต่อรองทางการค้า 4) ความกระตือรือร้นในการหาความรู้5) การบูรณาการการท างานร่วมกันของเกษตรกรกับหน่วยงานอื่น ๆ6) การสร้างต้นแบบของกลุ่มเกษตรกร และ 7) ความมุ่งมั่นในการท าการเกษตรปลอดภัย เน้นวิถีเกษตรธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย