ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ภรภัทร ไชยสมบัติ
นราวุธ ระพันธ์ค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร สภาพการเลี้ยงโคนม ต้นทุนผลตอบแทนจากการผลิตน้้านม และปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้้านมของฟาร์มโคนมในจังหวัดสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลการผลิตในปี2559 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จ้านวน 110 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และท้าการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคแบบสองกลุ่มเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิต ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเจ้าของฟาร์มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 16 ปี ในส่วนสภาพการเลี้ยงโคนม พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 5.01 ไร่ต่อครัวเรือน ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก เฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน นิยมเลี้ยงโคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน ด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยงโคนม พบว่า ต้นทุนในการเลี้ยงโคนมส่วนใหญ่มาจากค่าอาหารข้น คิดเป็นร้อยละ 48.46 ของต้นทุนทั้งหมด เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตน้้านมดิบเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เฉลี่ย 20.87 บาทต่อกิโลกรัม มีต้นทุนที่ทางบัญชีเฉลี่ย 12.56 บาทต่อกิโลกรัม ราคาน้้านมดิบที่ขายได้เฉลี่ย17.92 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นเกษตรกรจึงขาดทุนทางเศรษฐศาสตร์2.95 บาทต่อกิโลกรัม และมีก้าไรทางบัญชี 5.36 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้้านมของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร ได้แก่ 1) ขนาดฟาร์ม (P<0.01) ฟาร์มขนาดกลางมีโอกาสที่จะมีต้นทุนการผลิตต่้ากว่าค่าเฉลี่ยมากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก 26.74 เท่า 2) ระดับการศึกษา (P<0.05)เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษามีโอกาสที่จะมีต้นทุนต่้ากว่าค่าเฉลี่ยมากกว่าเกษตรกรที่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่้ากว่า 2.87 เท่า และ 3) จ้านวนแรงงานประจ้าในฟาร์ม (P<0.01) ถ้าเกษตรกรเพิ่มแรงงาน 1 คน จะท้าให้โอกาสที่ต้นทุนการผลิตต่้ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มลดลง 0.43 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย